logo_medical_เล็ก

สหคลินิกเมดิคอลไลน์ แล็บ (บริษัท เมดิคอลไลน์ แล็บ)

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน ยับยั้งความรุนแรงของโรคได้แค่หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี

โรคเบาหวาน เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื่อรัง (non-communicable diseases: NCDs) ซึ่งคนส่วนใหญ่เป็น แต่เพราะคิดว่าไม่เป็นอันตราย จึงไม่ได้ใส่ใจดูแลเท่าที่ควร แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากไม่ควบคุมโรคเบาหวานอาจจะส่งผลต่อโรคร้ายแรงชนิดอื่นๆได้ เช่น โรคหัวใจ เส้นประสาทถูกทำร้าย หรือภาวะแทรกซ้อน เป็นต้น

โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน มีผลให้การดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หากปล่อยในร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะในร่างกายเสื่อม อาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนได้ ซึ่งผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานในระยะเริ่มแรกจะไม่แสดงอาการ แต่จะตรวจพบว่าเป็นโรคเบาหวานแล้วก็ต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนของโรคเรียบร้อยแล้ว

ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งในร่างกาย สร้างจากกลุ่มเซลล์ในตับอ่อน ที่ชื่อว่า เบต้า (Beta cells) มีหน้าที่สำคัญ ในการควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย โดยจะเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาล เพื่อเปลี่ยนให้เป็นรูปของพลังงานเข้าไปสู่กล้ามเนื้อ และเซลส์ต่างๆ ของร่างกาย

โรคเบาหวาน แบ่งประเภทได้เป็น 3 ประเภท

เบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดนี้ได้ แต่ผู้ป่วยจะสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนได้ ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไขมัน คอลเรสตอรอล และปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เกิดจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวการณ์ดื้ออินซูลิน มักพบในวัยกลางคนถึงผู้ที่มีอายุมาก และเป็นชนิดที่พบบ่อยมากที่สุด โรคเบาหวานประเภทที่ 2 นี้สามารถป้องกันได้ ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น การหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติหวานจัด เน้น ผัก และโปรตีนจากเนื้อปลา ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน บางครั้งโรคนี้เกิดจากกรรมพันธุ์ หากคุณมีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้ ควรเฝ้าระวัง ด้วยการหมั่นตรวจสุขภาพและตรวจสอบร่างกายกับแพทย์ผุ้เชี่ยวชาญ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นระหว่างการตั้งครรภจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน มักถูกวินิจฉัยในช่วงสัปดาห์ที่ 24 – 28 ของการตั้งครรภ์ เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ ซึ่งจะสามารถส่งผลเสียต่อมารดาและทารกได้

ลักษณะอาการของโรคเบาหวาน

ปัสสาวะบ่อยขึ้น หิวน้ำมากขึ้น โดยเฉพาะตอนกลางคืน จะกระหายน้ำมากกว่าเดิม เพราะร่างกายต้องการขับน้ำตาลที่มีอยู่สูงในเลือดออกมาทางปัสสาวะ

น้ำหนักลด การที่มีน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ประมาณ 5-10 กิโลกรัมภายใน 2-3 เดือน

บาดแผลหายช้า หากมีบาดแผลที่ผิวหนัง เช่น การติดเชื้อ หรือรอยฟอกช้ำ บาดแผลจะหายช้ามาก นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกให้รู้ว่า คุณอาจจะเป็นโรคเบาหวาน เพราะระดับน้ำตาลในเลือดจะไปขัดขวางการทำงานของหลอดเลือด

หิวบ่อย กินจุบจิบ เพราะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จะทำให้ร่างกายต้องการอาหารเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด

อ่อนเพลีย อารมณ์ไม่คงที่  เพราะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลต่อการทำงานทุกระบบ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับอารมณ์ด้วย

โรคแทรกซ้อนในเบาหวาน

  • โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคไตวายเรื้อรัง
  • เส้นประสาทถูกทำลาย
  • ปัญหาที่เท้า แผลที่เท้า
  • โรคตา มองภาพไม่ชัด
  • โรคเหงือกและปัญหาในช่องปากอื่นๆ
  • ปัญหาทางระบบสืบพันธุ์และกระเพาะปัสสาวะ
  • ปัญหาทางระบบทางเดินอาหาร

ค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสม

น้ำตาลในเลือด เรียกว่า “น้ำตาลกลูโคส” หากสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ก็จะทำให้ร่างกายมีความสมดุล ปกติแล้วระดับน้ำตาลในเลือดมักจะอยู่ที่ 70 – 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หากต่ำหรือสูงกว่านั้น ควรตรวจร่างกายเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน

การตรวจเพื่อคัดกรองโรคเบาหวานในปัจจุบันคือ Fasting Blood Sugar (FBS) แล้วเราจำเป็นต้องตรวจบ่อยแค่ไหน ความสม่ำเสมอดูจะเหมาะสมกับการตรวจเพื่อยับยั้งโรคดังกล่าวได้ดี ระดับความสม่ำเสมอจึงควรตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี ถ้าคุณยังไม่เป็นโรคเบาหวาน เพื่อนำสถิติที่ได้รับมาประเมินผล แต่หากคุณเป็นโรคเบาหวานแล้ว ควรตรวจ FBS ตามความถี่ในการดูแลของแพทย์ จึงจำทำให้การดูแลรักษาได้ประสิทธิภาพมากขึ้น

ปัจจุบันเอ็ม แอล แอล คลินิกเวชกรรมในเครือ เมดิคอลไลน์ แล็บ ให้บริการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานให้กับประชาชนทั่ว ไป และก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2562 นี้ มีโปรโมชั่นน่าสนใจในราคาสบายกระเป๋า “เบาหวาน อย่าเบาใจ” ในราคา 399 บาท เพราะเราเล็งเห็นความสำคัญของการควบคุมโรคไม่ติดต่อร้ายแรง ที่ประชากรไทยเป็นกันมาก ด้วยพฤติกรรมการับประทานอาหารที่มีค่านิยมใหม่ ฉะนั้นการตรวจสอบดูแลสุขภาพร่างกายของตนเอง จึงเป็นเหตุผลสำคัญสำหรับ คนยุคนี้ ติดต่อขอรับคำแนะนำ หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร 02-374-9604-5 ต่อ 13

Scroll to Top
Scroll to Top