logo_medical_เล็ก

สหคลินิกเมดิคอลไลน์ แล็บ (บริษัท เมดิคอลไลน์ แล็บ)

โรคหัวใจ

โรคหัวใจ สาเหตุอันดับที่ 2 การเสียชีวิตประชากรไทย

โรคหัวใจ (Heart Disease) ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยสามารถแบ่งย่อยได้หลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคการติดเชื้อบริเวณหัวใจ แต่การเกิด โรคหัวใจ มักเกิดจากพฤติกรรม ความเสี่ยงด้านพฤติกรรม ที่สามารถป้องกันได้ เช่น การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารหวาน และอาหารเค็ม นอกจากนี้ยังควร ควบคุมน้ำหนัก และหมั่นตรวจระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด

อาการและสาเหตุของโรคหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ มักมีอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอก ร้าวไปตามกราม แขน ลำคอ ท้อง หรือบริเวณหลัง และอาจจะมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรือหมดสติได้ สาเหตุเกิดจากไขมันหรือแคลเซียม ที่สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ในหลอดเลือด จนขัดขวางทางเดินเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยง กล้ามเนื้อหัวใจ ไม่เพียงพอ และอาจจะมีสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในหลอดเลือดสูง น้ำหนักเกิน และสูบบุหรี่

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจอาจจะเต้นเร็วผิดปกติ ช้าผิดปกติ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ ทำให้รู้สึกเหมือนใจสั่น มันแสดงอาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก เวียนศีรษะ หรือคล้ายจะเป็นลมได้ สาเหตุอาจจะเกิดจากการถูกไฟฟ้าช็อต การใช้สารเสพติด ยาอาหารเสริมบางชนิด รวมทั้ง ดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน นอกจากนี้ อาจจะมีความเสี่ยงจากอาการเจ็บป่วย โรคหัวใจอื่นๆ เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ หรือโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ มักมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เมื่อต้องออกแรงมากๆ มักมีอาการมากขึ้น หากมีอาการรุนแรงมากแม้ขณะนั่งอยู่เฉยๆ ก็จะมีอาการเหนื่อย บวมตามแขน ขา หนังตา ร่วมกับอาการเพลีย นอนราบไม่ได้ และไอตื่นขึ้นมาไอในเวลากลางคืน สาเหตุของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจ สาเหตุมักจะต่างกันไปตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม ทำให้การไหลเวียน ของเลือดสู่หัวใจน้อยลง การได้รับยาบางชนิด การติดเชื้อ และพันธุ์กรรม และอาจจะเป็นผลจากโรคอื่นๆ เช่น เนื้อเยื่อเกี่ยวพันผิดปกติ ภาวะธาตุเหล็กมากเกิน หรือการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด รังสีบำบัด เป็นต้น

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นโรคที่เกิดขึ้นตั้งแต่ เมื่อทารกอยู่ในครรภ์มารดา อาการจะแสดงเมื่อคลอด โดยสามารถแบ่งกลุ่มอาการได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือมีอาการเขียวหรือไม่มีเขียว ในกลุ่มที่ยังไม่มีอาการรุนแรงมาก จะสามารถสังเกตอาการได้ในภายหลัง เช่น เหนื่อยขณะออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบกับคนอายุรุ่นเดียวกัน แต่กลุ่มที่มีอาการมาก จะทำให้เลี้ยงไม่โต ทารถมีอาการเหนื่อยขณะให้นม หรือมักติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อยๆ เป็นต้น อาจจะเป็นภาวะแทรกซ้อน จากการตั้งครรภ์ของมารดา ที่ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด การใช้ยาหรือสารเสพติดบางชนิดขณะตั้งครรภ์ การติดเชื้อของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ รวมทั้งอาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมก็ได้

โรคลิ้นหัวใจ อาการจะขึ้นอยู่กับความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่เกิดขึ้น ในกลุ่มที่มีความผิดปกติเพียงเล็กน้อยจะไม่แสดงอาการให้เห็น แต่จะสามารถได้ยินเสียง ผิดปกติจากการตรวจร่างกายเท่านั้น แต่หากมีความผิดปกติมาก จะแสดงอาการเหนื่อยง่าย และอาจเกิดภาวะหัวใจวายหรือน้ำท่วมปอดได้ สาเหตุมักเป็นมาตั้งแต่กำเนิด หรือโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอื่นๆ เช่น ไข้รูมาติก เยื่อบุหัวใจอักเสบ หรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพันผิดปกติ

โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ จะแสดงอาการ มีไข้ และมักเป็นแบบเรื้อรัง อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจหอบเหนื่อย ไอเรื้อรังแห้งๆ ขาหรือช่องท้องบวม รวมถึงมีผื่นหรือจุดขึ้นตามผิวหนัง โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ มักเกิดขึ้นได้ จากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิต รวมทั้งการทำ หัตถการทางการแพทย์ การใช้สารเสพติด และมีการเหนี่ยวนำให้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณหัวใจตามมา

การรักษาโรคหัวใจ
การรักษาโรคหัวใจจะรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ และรักษาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็นในขณะนั้น เข่น การทำหัตถการสวนหัวใจ การผ่าตัดหัวใจ ร่วมกับการใช้ยารักษา รวมถึงการให้คำแนะนำในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ความเครียด และเพิ่มการออกกำลังกาย การปรับพฤติกรรมการบริโภค โดยแนะนำให้ลดอาหารเค็ม อาหารหวาน และอาหารที่มีไขมันสูง

เพื่อลดภาวะเสี่ยงโรคหัวใจ จึงควรการ หมั่นตรวจเช็คสุขภาพ และระดับไขมันในเส้นเลือด เป็นประจำสม่ำเสมอ ก็จะสามารถลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้ เอ็ม แอล แอล คลินิกเวชกรรม ในเครือ เมดิคอลไลน์ แล็บ ให้บริการแนะนำ ให้คำปรึกษาแต่ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยง หรือต้องการวางแผนเพื่อป้องกันภาวะเสี่ยง ทั้งยังมีหลายการตรวจสุขภาพที่ครอบคลุม แก่ความต้องการของผู้ที่เข้ามารับคำแนะนำ สามารถติดต่อเพื่อรับคำปรึกษากับแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญได้ที่ เบอร์ 02-374-9604 หรือ info@medicallinelab.co.th หรือ เพิ่มเพื่อน

Scroll to Top