logo_medical_เล็ก

สหคลินิกเมดิคอลไลน์ แล็บ (บริษัท เมดิคอลไลน์ แล็บ)

วินิจฉัยโรค

โรคยอดฮิตชีวิตคนทำงาน

จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงนี้ เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านที่กำลังอยู่ในวัยทำงานหลายคนคงประสบปัญหาทางการเงินจนต้องทำงานล่วงเวลา หรืออาจต้องหารายได้เสริมจากงานอื่นเพิ่มจากงานประจำ และเพราะเหตุนั้นวันนี้ทางผู้เขียนจึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรคยอดฮิตของคนวัยทำงานอย่างเราที่น่าสนใจมาให้ทุกท่านได้อ่านกัน เพื่อให้ทุกท่านได้ระวังระวังตัวจากโรคร้ายที่มาจากการโหมงานหนักจนเกินควร

โรคยอดฮิตชีวิตคนทำงาน

 

  1. โรคปลอกประสาทอักเสบ

เป็นโรคที่พบได้มากในผู้หญิงวัยทำงาน โดยเฉพาะช่วงอายุ 20 – 40 ปี โดยโรคนี้เกิดจากการอักเสบของปลอกประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง เพราะเม็ดเลือดขาวหลั่งสารที่ไปทำลายปลอกประสาทออกมา ทำให้ประสาทเสียหายและเกิดการอักเสบกลายเป็นแผลที่เนื้อสมองของเรา

โดยโรคนี้เกิดขึ้นที่ปลอกประสาทภายในของร่างกาย ดังนั้น อาการที่เป็นสัญญาณโรคของแต่ละคนจึงมีความหนักเบาไม่เท่ากัน และอาการยังต่างกันไปตามจุดที่เกิดอาการ โดยอาการที่คนป่วยจำนวนมาก ได้แก่

– ด้านการมองเห็น : จะมองเห็นภาพซ้อนหรือมองไม่เห็น และอาจมีอาการเจ็บตาด้วย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่ง

– ด้านการทรงตัว : อาจสูญเสียการทรงตัว อ่อนแรง ขากระตุก หกล้มง่าย มือสั่น รวมไปถึงการเคลื่อนไหวของส่วนต่างๆในร่างกายไม่สอดคล้องกัน

– ด้านสมอง : มีปัญหาด้านความคิด การตัดสินใจ ความจำ การรับและทำความเข้าใจข้อมูลต่างๆ ได้ช้า อาจมีอาการอารมณ์แปรปรวนและซึมเศร้าร่วมด้วย

– ด้านการพูด : พูดไม่ชัด รวมไปถึงเคี้ยวหรือกลืนอาหารลำบาก

– ด้านระบบปัสสาวะ : ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และท้องผูกบ่อยๆ

– รู้สึกเหนื่อยล้าง่าย : เหน็บชาตามแขนขาและบริเวณหน้า เมื่อขยับคอรู้สึกเหมือนโดนไฟช็อต

  1. โรคเครียดลงกระเพาะ

ส่วนมากแล้วเกิดจากความเครียด เพราะในเวลาที่เราเครียดระบบประสาทอัตโนมัติ จะกระตุ้นกระเพาะอาหารให้หลั่งกรดออกมามากกว่าปกติจนเกิดอาการระคายเคืองและเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารขึ้นได้นั่นเอง

  1. โรคความดันสูง หรือ โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension/High Blood Pressure)

เป็นภาวะที่ความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา เพราะความกดดันที่ต้องเผชิญบ่อยครั้ง นอกจากนี้โรคนี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต และไตวายอีกด้วย

วินิจฉัยโรค

 

  1. ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

หลายท่านคงเคยได้ยินคำนี้บ่อยๆ เพราะออฟฟิศซินโดรมหรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) นี้ เป็นกลุ่มอาการที่เกิดบ่อยๆ ในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ เพราะต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานโดยไม่ได้ขยับตัว กล้ามเนื้อจึงเกิดอาการตึง ก่อให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบขึ้นได้

  1. โรคหัวใจ

อีกหนึ่งโรคยอดฮิตคู่วัยทำงาน เพราะไลฟ์สไตล์ที่ต้องทำงานหนัก พักผ่อนน้อย และทานอาหารที่มีไขมันสูง รสชาติจัดจ้านเกินไป ซ้ำยังไม่มีเวลาออกกำลังกาย จึงไม่แปลกที่คนในวัยนี้จะเกิดโรคหัวใจได้ง่ายมาก

และนี่ก็คือโรคยอดฮิตชีวิตคนทำงานที่น่าสนใจที่ผู้เขียนได้นำมาเรียบเรียงให้ได้อ่านกัน ไม่ว่าจะเป็นโรคไหนก็ล้วนแล้วแต่เป็นโรคที่ดูอันตรายทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเราๆ เหล่าคนทำงานก็คงจะต้องหาเวลาดูแลสุขภาพของตัวเองกันบ้างแล้ว

สำหรับผู้อ่านท่านใดที่รู้สึกว่าตนเองอาจจะมีอาการของโรคที่ได้กล่าวมา แต่ไม่มั่นใจว่าใช่หรือไม่ ที่ “ศูนย์บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เมดิคอลไลน์ แล็บ” ของเรา มีการให้บริการสำหรับท่านที่สนใจเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคจากการทำงาน โดยทางเรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญ พร้อมด้วยเครื่องมือและห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานไว้ให้บริการ ดังนั้นจึงมั่นใจได้เลยว่าผลที่ได้ออกมานั้น จะมีความแม่นยำและเชื่อถือได้แน่นอน

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

  • 7 โรคฮิตที่คุกคามชีวิตคนทำงาน : https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/7-popular-diseases-that-threaten-workers?fbclid=IwAR1JITbJVMHnrWlx3VpwYUZdB16mbGOtyuZRNHTHLBDIja81xHQijnQ3WDw
  • 10 โรคฮิตคนทำงานออฟฟิศ : https://www.chularatcom/knowledge_detail.php?lang=th&id=446&fbclid=IwAR0qJT6YKzyKi8KCPTcthPMAKB0A6sOSAe6m3SgKuqncN4Diysj9zmNaElQ
  • ทำความรู้จัดโรคปลอกประสาทอักเสบ : https://www.thaihealth.or.th/Content/47241-ทำความรู้จัดโรคปลอกประสาทอักเสบ.html?fbclid=IwAR3emjxY4-PQSgSsLs9Kepb0h2t3QJ7YHXEwypWFf2RQebnn9cHaMvkdDBc
  • เครียดลงกระเพาะโรคใกล้ตัวคนคิดมาก : https://www.thaihealth.or.th/Content/47110-เครียดลงกระเพาะโรคใกล้ตัวคนคิดมาก.html
  • ความดันสูง : https://www.pobpad.com/ความดันโลหิตสูง
  • โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) : http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/696/Officesyndrome
Scroll to Top