logo_medical_เล็ก

สหคลินิกเมดิคอลไลน์ แล็บ (บริษัท เมดิคอลไลน์ แล็บ)

เอนไซม์กล้ามเนื้อ

เล่าเรื่อง เอนไซม์กล้ามเนื้อ ถ้ามีค่ามันสูงเกินไป อาจจะมีความเสี่ยงต่อชีวิต

ปกติการเดินทางไปตรวจสุขภาพประจำปี เราก็มักจะเลือกตรวจรายการทั่วๆไป เพราะร่างกายยังแข็งแรง ยังมีแรง ไม่ป่วยการตรวจประจำปีก็น่าจะคาดการณ์สิ่งที่อยากทราบได้ แต่บางทีก็มีอะไรที่รายการตรวจทั่วๆไปไม่สามารถบอกได้ เช่น เรื่องการวัด เอนไซม์กล้ามเนื้อ เพราะการตรวจหา เอนไซม์กล้ามเนื้อ หรือ Creatine Phosphokinase, CPK เป็นเอนไซม์ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ เซลล์ของหัวใจ และ เซลล์ของสมอง CPK มักถูกวินิจฉัยในห้องฉุกเฉิน เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคกล้ามเนื้อหัวขาดเลือด การวินิจฉัยโรคหัวใจเฉียบพลัน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วยนะคะ  ค่าปกติของผลการตรวจ CPK คือ ชายและหญิง ทุกช่วงอายุ 52-336 หน่วย/ลิตร แต่หากตรวจออกมาแล้วได้ค่า CPK สูง อาจประเมินได้ว่า เกิดการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อโครงสร้าง หรือเนื้อเยื่อสมอง ร่างกายอาจตกอยู่ในสภาวะตัวร้อนเกิดอย่างรุนแรง รวมไปถึงกล้ามเนื้อสลายเนื่องจากถูกบีบอัด เช่น การวิ่งมาราธอน

ค่าเอนไซม์กล้ามเนื้อ จะตรวจพบได้เมื่อร่างกายมีการสลายกล้ามเนื้อปนออกมาในกระแสเลือด อาจจะรุนแรงถึงขั้นกล้ามเนื้อสลาย มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งจะเกิดปัญหากับไต ทำให้ไตวายได้ คนที่มีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อสลาย ถ้ารักษาไม่ถูกทางอาจจะมีโอกาสเสียชีวิตได้

อย่างกรณีข้อมูลที่แชร์กันในโลกออนไลน์ “ตูน” อาทิวราห์ คงมาลัย วิ่งหนัก 150 กิโลเมตร เข้ากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. ที่ผ่านมา จน ค่า CPK ขึ้นไปถึง 4,000 ซึ่งคนปกติค่า ไม่ถึงร้อย ทำให้ต้องพัก จนค่า CPK เหลือที่ 1,000 จึงวิ่งต่อ ทำให้ตูน ต้องพัก 2 วัน เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกาย รักษาชีวิตก่อนวิ่งไป เชียงราย ตามเป้าที่กำหนด

ประโยชน์ของการตรวจค่า CPK

  • เพื่อวินิจฉัยภาวะหัวใจวาย
  • เพื่อหาสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอก
  • เพื่อตรวจสอบว่ากล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายไปมากน้อยเพียงใด
  • สามารถตรวจสอบโรคทางกล้ามเนื้อที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ เป็นต้น

การเตรียมตัวก่อนตรวจ CPK

การตรวจ CPK เป็นการตรวจเอนไซม์ในเลือด จึงไม่จำเป็นต้องอดอาหารก่อนการทดสอบ แต่จำเป็นต้องแจ้งแพทย์ก่อนว่ามีการใช้ยา สมุนไพร อาหารเสริมชนิดใด อยู่ประจำบ้าง เพราะยาบางชนิดสามารถเพิ่มปริมาณฮอร์โมน CPK ในเลือดได้ เช่น ยาลดคอลเลสเตอรอล ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาแอมโฟเทอริซิน บี (Amphotericin B) และกลุ่มยาฆ่าเชื้อรา เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

Scroll to Top
Scroll to Top