logo_medical_เล็ก

สหคลินิกเมดิคอลไลน์ แล็บ (บริษัท เมดิคอลไลน์ แล็บ)

สมองเสื่อม

สมองเสื่อม วิธีป้องกัน และความหมายเพื่อความเข้าใจ

สมองเสื่อม เป็นโรคชนิดหนึ่งที่มีความรุนแรงของโรคมาก หากไม่ได้รับการดูแลอย่างรวดเร็วแต่ สมองเสื่อม ก็ถือได้ว่าเป็นโรคที่สังเกตุอาการได้ยาก เพราะมักมีความคิดเห็นของตัวผู้ป่วยเองประกอบการสังเกต ทำให้การวินิจฉัยโดยแพทย์อาจจะเกิดความล่าช้า และไม่เท่าทันต่อความคืบหน้าของโรคได้ ฉะนั้นหากพบความผิดปกติต้องรีบพบแพทย์โดยทันที เพราะยังสามารถแก้ไข หรือชะลอความเสียหายของโรคได้

สมองเสื่อม นั้นคืออะไร มาเรียนรู้ความแตกต่างกับความเชื่อเดิมๆ

อาการสมองเสื่อม คือภาวะ การสูญเสียความสามารถทางสมอง กล่าวคือ ความจำ การรับรู้ ความเข้าใจ การใช้ภาษา ทิศทาง การใช้เหตุผลและการแก้ปัญหา หรือการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมและ บุคลิกภาพ ซึ่งความผิดปกติทั้งหมดที่กล่าวมานั้นจะมีผลกระทบต่อ ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน และการเข้าสังคม ซึ่งความคิดเห็นของผู้ป่วยเองที่มีผลกระทบต่อการวินิจฉัยของแพทย์ได้แก่ คนสูงอายุมักมีอาการหลงลืมซึ่งเป็นไปตามวัย ความเชื่อดังกล่าวไม่สามารถกล่าวได้ว่า มีส่วนถูกต้องทั้งหมด หากคนใกล้ชิดให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติ และรีบนำมาปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย สามารถจะแก้ไขความเสียหายบางส่วน หรือชะลอการเกิดของโรคได้ หากพบในระยะแรกเริ่ม

สาเหตุของโรคสมองเสื่อม สาเหตุการเกิดโรคสมองเสื่อมมีได้หลายปัจจัย แต่สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดแนวโน้มเป็นโรคสมองเสื่อมก็คือ การขาดวิตามินบี 1 หรือ บี 12 การติดเชื้อในสมอง การแปรปรวนของระบบเมตาโบลิกในร่างกาย เนื้อหงอกในสมอง เป็นต้น โดยชนิดของโรคสมองเสื่อมที่พบในประเทศไทยมากที่สุด คือ อัลไซเมอร์ และโรคหลอดเลือดสมอง

การป้องกัน โรคสมองเสื่อม ในสังคมสูงวัย

  1. เลือกรับประทานอาหารให้เป็นเวลา สารอาหารครบทั่ว เหมาะสมกับอายุ และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
  2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  3. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์
  4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง
  5. ไม่สูบบุหรี่ ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์
  6. พยายามฝึกสมองให้คิดบ่อยๆ อ่านและเขียนหนังสือบ่อยๆ เล่นเกมส์ต่อปัญหา หรือฝึกนับเลขถอยหลัง
  7. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง
  8. เข้าสังคมเพื่อพบปะพูดคุยกับเพื่อนร่วมวัยบ่อยๆ
  9. ตรวจสุขภาพประจำปี
  10. หากมีโรคประจำตัวควรติดตามการรักษาเป็นระยะ นอกจากรับประทานยาตามแพทย์สั่งแล้ว ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมอาการของโรคด้วย โรคที่ต้องให้ความใกล้ชิดในการป้องกัน เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
  11. ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุต่อสมอง โดยเฉพาะการหกล้ม
Scroll to Top
Scroll to Top