logo_medical_เล็ก

สหคลินิกเมดิคอลไลน์ แล็บ (บริษัท เมดิคอลไลน์ แล็บ)

covid 19

สถานการณ์ไวรัส COVID-19 ณ ปัจจุบันในแต่ละประเทศ

ไวรัสโควิด-19 ได้กลายเป็นวิกฤตครั้งใหม่ที่คุกคามชีวิตและความปลอดภัยของผู้คนทั่วโลก จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะสามารถควบคุมโรคได้แต่อย่างใด และมีแต่จะแพร่ระบาดมากขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ วันนี้เราจะพาท่านเกาะติดสถานการณ์โรคนี้ พร้อมขั้นตอนการตรวจและการรักษา

people wear mask

สถานการณ์ปัจจุบันของไวรัสโควิด-19 (COVID-19)

หลังจากที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) เริ่มแพร่ระบาดมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2562 โควิด-19 ก็ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลกมากกว่า 129 ประเทศ จนมีจำนวนผู้ป่วยสะสมมากกว่า 156,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 5,844 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 15 มี.ค. 2563) ส่งผลให้องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกแถลงการณ์ให้การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็นการระบาดใหญ่ (Pandemic) พร้อมระบุว่า ยุโรปกำลังกลายเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เนื่องจากมีจำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นอย่างเมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่ผ่านมา

 

ประเทศที่มีการแพร่เชื้อมากที่สุด

ปัจจุบัน โรคโควิด-19 ยังคงระบาดอย่างหนักและมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในหลายประเทศ โดย 10 ประเทศที่มีการแพร่เชื้อมากที่สุด ได้แก่

Covid

สำหรับในประเทศไทย มียอดผู้ป่วยด้วยโรคโควิด-19 สะสมรวมทั้งสิ้น 114 ราย รักษาหายแล้ว 37 ราย อยู่ระหว่างรักษาตัว 76 ราย เสียชีวิต 1 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 15 มี.ค. 2563)

 

ขั้นตอนการตรวจหาเชื้อโควิด-19 (COVID-19)

สำหรับผู้ที่เข้าเกณฑ์การติดเชื้อ กลุ่มเสี่ยง หรือผู้ที่สงสัยว่าตนเองอาจได้รับเชื้อโควิด-19 จะได้รับการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ (RT-PCR) จากการจิ้มจมูก (Nasopharyngeal swab) ร่วมกับการป้ายคอ (Throat swab) ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ในประเทศไทย โดยการให้ผู้ป่วยเงยหน้าและแหย่ก้านพลาสติกปลายนุ่มเข้าไปในจมูก 1-2 ครั้ง แล้วจึงให้ผู้ป่วยอ้าปากและแหย่ก้านพลาสติกพันสำลีเข้าไปตรงต่อมทอนซิลและคอด้านหลังอีก 1 ครั้ง จากนั้น หักปลายก้านพลาสติกและจุ่มลงไปในหลอดน้ำยาเพื่อส่งไปตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ ณ โรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ เช่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช หรือ ห้องปฏิบัติการในสังกัดของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค โดยใช้ระยะเวลารอผลประมาณ 8-12 ชั่วโมง สำหรับผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจพิจารณาให้มีการตรวจเอกซเรย์ปอดเพื่อดูอาการปอดอักเสบร่วมด้วย โดยในระหว่างนี้ ผู้ป่วยควรจะต้องกักตัว หรือนอนรักษาตัวในห้องแยกโรคเดี่ยวหรือห้องความดันลบที่โรงพยาบาลจนกว่าจะทราบผล

doctor take care of patient

วิธีการรักษาโรค

หลังจากการตรวจหาเชื้อโควิด-19 และพบว่าผลเป็นบวก (พบเชื้อไวรัสโควิด-19) ผู้ป่วยจะเข้าสู่กระบวนการรักษาโรคโควิด-19 ดังนี้

  • หลังจากได้รับการยืนยันว่าพบผู้ป่วยโรคโควิด-19 แพทย์จำการส่งตัวผู้ป่วยไปพักรักษายังห้องแยกโรคเดี่ยว (Isolation Room) หรือห้องที่ใช้สำหรับรองรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเฉพาะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ โดยมีระยะห่างระหว่างแต่ละเตียงไม่น้อยกว่า 1 เมตร พร้อมจัดทีมบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะกิจคอยดูแลผู้ป่วย
  • แพทย์จะประเมินอาการของผู้ป่วยไปทีละอาการ และทำการรักษาตามอาการคล้ายกับการรักษาโรคหวัด หรืออาจให้ยาต้านไวรัสในปริมาณที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
  • หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการหนักขึ้น จะมีการย้ายตัวผู้ป่วยไปยังห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ (Airborne Infection. Isolation Room หรือ AIIR) เพื่อเฝ้าระวังและติดตาม รักษาไปตามอาการที่ผู้ป่วยเป็น
  • หลังผู้ป่วยได้รับการรักษาแล้วมีอาการดีขึ้น ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 อีกครั้งเพื่อยืนยันผลเป็นครั้งที่ 2 หากผลตรวจออกมาเป็นลบ (ไม่พบเชื้อไวรัสโควิด-19) ก็สามารถออกจากโรงพยาบาลได้

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

  • อัปเดตโควิด-19 ล่าสุด ยอดผู้ป่วยสะสมทะลุ 156,000 เสียชีวิตแล้ว 5,844 รายทั่วโลก

https://www.sanook.com/news/8020722/

  • ไทยพบผู้ป่วยโควิด-19 พุ่ง 32 ราย ส่งผลให้ยอดรวมสะสมทะลุเป็น 114 ราย

https://www.sanook.com/news/8054287/

  • โควิด-19: สงสัยว่าติดเชื้อไวรัส ควรทำอย่างไร มีขั้นตอนรักษาอย่างบ้าง?

https://www.sanook.com/health/20895/

  • ตรวจโควิด-19 ทำอย่างไร ใครบ้างที่เข้าข่ายต้องไปตรวจ เช็กอาการและวิธีก่อนไปหาหมอ

https://thestandard.co/covid-19-check/

 

สอบถามข้อมูลบริการตรวจสุขภาพได้ที่

เบอร์โทร:  02-374-9604-5

Hotline: 080-9411240, 080-2718365

Website: https://www.medicallinelab.co.th/

 

Scroll to Top
Scroll to Top