logo_medical_เล็ก

สหคลินิกเมดิคอลไลน์ แล็บ (บริษัท เมดิคอลไลน์ แล็บ)

วิธีหาตรวจหาโควิด (COVID-19) ที่ถูกต้อง

วิธีหาตรวจหาโควิด (COVID-19) ที่ถูกต้อง และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตรวจโควิด (COVID-19) ที่คุณควรทราบ

แม้จะมีการระบาดมากว่าหนึ่งปีแล้ว แต่โรคโควิด (COVID-19) ก็ยังคงสร้างความตื่นตระหนักให้กับผู้คนได้อยู่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยเราเองที่ยังคงมียอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตพุ่งสูงขึ้นติดต่อกันมาเป็นระยะหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตาม การตื่นตระหนกนี้เองได้ทำให้เกิดการสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับเชื้อไวรัสนี้แบบผิด ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรักษา แนวทางการฆ่าเชื้อ โดยเฉพาะการตรวจหาโควิดในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิไม่สามารถระบุผู้ป่วยที่เป็นโควิด-19 ได้ 100%

แม้เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิจะสามารถระบุตัวผู้ป่วยที่มีไข้คือมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติจากการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ได้ อย่างไรก็ตาม เครื่องตรวจวัดอุณหภูมินี้ไม่สามารถใช้ระบุตัวผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ แต่ยังไม่มีอาการไข้ได้ เนื่องจากโรคนี้จะมีระยะฟักตัวประมาณ 2-14 วันถึงจะเริ่มแสดงอาการอย่างการมีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาให้เห็น

  • การทดลองกลั้นหายใจ 10 วินาทีแล้วไม่ไอหรือไม่เจ็บปอด ไม่ใช่วิธีทดสอบเพื่อระบุการติดโรคโควิด-19

วิธีกาทดสอบโควิดด้วยการกลั้นหายใจที่มีการส่งต่อ ๆ กันในโลกออนไลน์นั้นยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ว่าสามารถใช้เพื่อตรวจสอบการติดเชื้อที่ปอดด้วยตนเองได้ ซึ่งปกติแล้วการตรวจปอดว่ามีการอักเสบจากการติดเชื้อหรือไม่นั้นจะต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยด้วยการฟังเสียงปอด ร่วมกับการเอกซเรย์ปอดเพื่อดูว่ามีฝ้าขาวผิดปกติหรือไม่

  • ตรวจโควิดแล้วไม่เจอเชื้อไม่ได้แปลว่าไม่ป่วย

การที่ตรวจโควิด-19 แล้ว “ไม่เจอเชื้อ” ไม่ได้หมายความว่า “ไม่ติดเชื้อ” เพราะอาจจะยังอยู่ในระยะฟักตัวของโรค ดังนั้นจึงต้องเฝ้าระวังอาการและกักตัวในช่วง 14 วันหากมีประวัติเสี่ยงหรือเคยเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่วนถ้าประเมินแล้วว่าเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงควรตรวจหาเชื้ออย่างน้อย 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกเมื่อทราบว่ามีความเสี่ยง หากผลเป็นลบ ควรตรวจซ้ำในอีก 7 วัน

  • ชุดตรวจ Rapid Test ไม่สามารถยืนยันผลตรวจได้จริง

การซื้อชุด Rapid Test มาตรวจโควิดเองที่บ้านไม่สามารถใช้ยืนยันได้ว่าติดเชื้อโควิดหรือไม่ เนื่องจากเป็นเพียงการตรวจหาภูมิคุ้มกันในร่างกายเท่านั้น โดยการตรวจมี 2 แบบ คือ ดูดเลือดจากปลายนิ้วและจากเส้นเลือดดำ ซึ่งหากตรวจในช่วงแรกหลังรับเชื้อหรือเลยช่วง 7-10 วันหลังมีอาการก็อาจแสดงผลเป็นลบ ทำให้หลายคนเข้าใจผิดไปเองว่าเมื่อชุดตรวจเป็นลบหมายความว่าตนเองไม่ติดเชื้อโควิด ที่สำคัญการตรวจด้วย Rapid test อย. อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะสถานพยาบาล และต้องทำโดยบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น

hand-with-protective-gloves-holding-blood-sample-covid-test_23-2148958351

ตรวจหาโควิดมีกี่แบบ? ตรวจโควิดแบบไหนมีประสิทธิภาพ แม่นยำ และปลอดภัยที่สุด?

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ หลาย ๆ ท่านคงมีคำถามเกิดขึ้นในใจเกี่ยวกับวิธีในการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ว่าตรวจโควิดแบบไหนมีประสิทธิภาพ แม่นยำ และปลอดภัยที่สุด? จริง ๆ แล้ว วิธีตรวจหาเชื้อนั้นมีหลายวิธี แต่วิธีที่ใช้ในประเทศไทยและได้รับการแนะนำโดยสภาเทคนิค​การแพทย์จะมีอยู่ 2 วิธี ได้แก่

  • วิธีตรวจหาเชื้อ

    ตรวจโควิด rt pcr

การตรวจหาเชื้อไวรัส สามารถตรวจได้หลังจากได้รับเชื้อมาแล้วประมาณ 5-7 วัน โดยแบ่งเป็น 3 แบบ คือ แบบที่ 1 ตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสด้วยวิธี Real-time RT PCR  แบบที่ 2 คือ เพาะเลี้ยงเชื้อไวรัส และแบบที่ 3 ตรวจหา Antigen เชื้อไวรัส สำหรับการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสที่พร้อมใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวิธีองค์การอนามัยโลกแนะนำ ได้แก่ วิธี Real-time RT PCR เนื่องจากมีความไว ความจำเพาะสูง ทราบผลภายใน 3-5 ชั่วโมง และสามารถตรวจจับเชื้อไวรัสปริมาณน้อย ๆ ในรูปแบบของสารพันธุกรรมได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเชื้อเป็นหรือเชื้อตายจะสามารถตรวจจับได้หมด โดยจะใช้วิธีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจจากสารคัดหลั่งทางเดินหายใจส่วนบนหรือส่วนล่างด้วยการป้ายเยื่อบุในคอหรือป้ายเนื้อเยื่อหลังโพรงจมูก ดังนั้น จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อการรักษาที่รวดเร็ว ตั้งแต่ระยะแรกของการเกิดโรค และใช้ติดตามผลการรักษาได้ อย่างไรก็ตาม การตรวจวิธีนี้ต้องระวังการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม จึงต้องทำในห้องแล็บที่ได้รับมาตรฐานเท่านั้น

  • วิธีตรวจหาภูมิคุ้มกัน

    rapid test

วิธีตรวจภูมิคุ้มกัน (IgM/IgG) เป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันในเลือดด้วยชุดทดสอบแบบรวดเร็ว หรือ Rapid Test โดยเป็นการเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจหาภูมิคุ้มกัน ซึ่งไม่ใช่การตรวจหาเชื้อ สามารถทราบผลใน 15 นาที การตรวจวิธีนี้จะทำได้หลังมีอาการป่วย 5-7 วัน หรือได้รับเชื้อมาแล้ว 10-14 วัน ดังนั้น การใช้ Rapid Test ตรวจภูมิคุ้มกันในช่วงแรกของการรับเชื้อหรือช่วงแรกที่มีอาการผลการตรวจจะขึ้นลบ ซึ่งไม่ได้แสดงว่าผู้ป่วยไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากภูมิคุ้มกันยังไม่เกิดขึ้น ทั้งนี้ โดยปกติธรรมชาติของร่างกายเมื่อได้รับเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อโรค ซึ่งภูมิคุ้มกันจะเกิดหลังจากมีอาการประมาณ 5-7 วัน จึงเป็นวิธีที่นิยมใช้ตรวจในกรณีเร่งด่วน เช่น ก่อนเข้ารับการผ่าตัดหรือการคัดกรองวงกว้างเพื่อควบคุมการกระจายเชื้อ อย่างไรก็ตาม การตรวจแบบ Rapid Test นี้มีองค์ประกอบสำคัญก็คือ “น้ำยาตรวจเชื้อ” ซึ่งเป็นน้ำยาที่ อย.อนุญาตใช้เฉพาะสถานพยาบาลเท่านั้น ไม่อนุญาตจำหน่ายทั่วไป เพราะมีความยุ่งยากในการแปลผลและสรุปผล ต้องทำโดยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเท่านั้น

ดังนั้น จากข้อมูลของสภาเทคนิคการแพทย์จะพบว่าการตรวจโควิด-19 ด้วยวิธี Real-time RT PCR จะเป็นวิธีมาตรฐานเพื่อตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อในระยะแรก ส่วนการตรวจหาภูมิคุ้มกันจะเป็นการตรวจเพื่อใช้สนับสนุนการวินิจฉัยการติดเชื้อเท่านั้น เนื่องจากการตรวจภูมิคุ้มกันจะตรวจพบก็ต่อเมื่อติดเชื้อไปแล้วเกิน 1-2 สัปดาห์ ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจหายจากโรคและพ้นระยะแพร่เชื้อไปแล้ว อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการป่วยหรือมีประวัติสัมผัสกลุ่มเสี่ยงควรรีบไปพบแพทย์และเข้าสู่กระบวนการตรวจรักษาถูกต้องและได้มาตรฐานเท่านั้น

ศูนย์การตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ เมดิคอลไลน์ แล็บ บริการตรวจคัดกรองโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ทั้งในและนอกสถานที่โดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความชาญและเชี่ยวชาญในการตรวจหาสารพันธุกรรม แม่นยำสูง ทราบผลรวดเร็ว ดำเนินการในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่มั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัย เนื่องจากได้รับการรับรองว่าเป็นห้องปฏิบัติการมาตรฐานการตรวจหาเชื้อโควิด–19 จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีอยู่เพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย พร้อมรับผลการตรวจได้อย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง สามารถสอบถามรายละเอียดหรือทำการนัดหมายล่วงหน้าเพื่อความสะดวกและรวดเร็วได้ที่

อ่านบทความ วิธีเตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด-19 (COVID-19)

 

Tel.: 080-271-8365 หรือ 02-3749604-5

Facebook: medicallinelab

Line: @medicallinelab

website: www.medicallinelab.co.th

 

Scroll to Top