logo_medical_เล็ก

สหคลินิกเมดิคอลไลน์ แล็บ (บริษัท เมดิคอลไลน์ แล็บ)

ป้องกันควบคุมโรค2

การป้องกันควบคุมโรค สิ่งสำคัญที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้

โรคติดต่อร้ายแรงทั้งโรคเก่าและโรคที่อุบัติขึ้นใหม่ถือเป็นปัญหาด้านสุขภาพและภัยคุกคามที่สำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก ยิ่งในระยะหลัง ๆ มานี้จะเห็นได้ว่าเชื้อโรคมีการพัฒนาด้านความรุนแรง การดื้อยา และแพร่กระจายได้ง่ายขึ้น การป้องกันควบคุมโรคที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานและไม่เป็นระบบอาจส่งผลให้สถานะของโรคนั้น ๆ ร้ายแรงยิ่งขึ้น เราจึงต้องป้องกันควบคุมโรคและป้องกันตนเองจากการติดเชื้ออย่างรัดกุม บทความนี้จะพาไปดูสิ่งสำคัญที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรค

 

ป้องกันควบคุมโรค

 

เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้อย่างไร?

เชื้อโรคต่าง ๆ สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้หลากหลายช่องทาง ดังนี้

  • ทางปาก ผ่านรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปะปนเชื้อโรค เช่น โรคอหิวาตกโรค โรคบิด ไข้ไทฟอยด์ เป็นต้น
  • ทางจมูก ผ่านการหายใจเอาอากาศที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในฝอยน้ำลายหรือฝุ่นละออง เช่น วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
  • ทางผิวหนัง ผ่านรอยถลอก บาดแผล ผื่นแมลงกัด เยื่อบุต่าง ๆ รวมถึงการสัมผัสของเหลวจากตัวผู้ป่วย เช่น โรคมาลาเรีย บาดทะยัก คุดทะราด ไข้เลือดออก หนองใน เป็นต้น
  • ทางอวัยวะสืบพันธุ์ ผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อโรคนั้น ๆ เช่น กามโรคชนิดต่าง ๆ เช่น โรคซิฟิลิส โรคแผลริมอ่อน โรคฝีมะม่วง เป็นต้น
  • ทางสายสะดือ หากมารดามีการติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์ช่วง 3 เดือนแรก เช่น เชื้อโรคหัดเยอรมัน
  • ทางเลือด ผ่านทางเส้นเลือดอย่างการฉีด ผ่าตัด ได้รับเลือดเพื่อการรักษา การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เช่น เชื้อซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบ เอดส์ เป็นต้น

 

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้ 100% หรือไม่?

แม้การฉีดวัคซีนจะไม่สามารถการันตีได้ว่าช่วยป้องกันโรคได้ 100% แต่การให้วัคซีนเป็นวิธีการป้องกันโรคติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่ง

 

วัคซีนในผู้ใหญ่จำเป็นไหม

การฉีดวัคซีนไม่จำกัดแต่เพียงในเด็กเท่านั้น ในความเป็นจริง เมื่อเราอายุมากขึ้น ร่างกายย่อมเสื่อมสภาพและภูมิคุ้มกันเดิมที่เคยมีก็ลดลงตามวัย จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นหรือติดโรคต่าง ๆ มากขึ้นตามไปด้วย อีกทั้ง วัคซีนที่เคยฉีดตอนเป็นเด็กนั้นไม่ได้มีประสิทธิภาพป้องกันโรคได้ตลอดชีวิต ดังนั้น วัคซีนหลาย ๆ ชนิดจึงควรฉีดซ้ำตอนเป็นผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น วัยทำงาน หรือวัยเกษียณ โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยและติดเชื้อได้ง่าย

โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ

หลาย ๆ คนอาจยังไม่ทราบว่าพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 กำหนดให้เจ้าบ้าน เจ้าของสถานประกอบการ แพทย์ผู้ทำการรักษาพยาบาลต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรณีที่พบผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงโรคใดโรคหนึ่งใน 23 โรคตามที่ระบุไว้ในราชกิจจานุเบกษา หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

  1. อหิวาตกโรค
  2. กาฬโรค
  3. ไข้ทรพิษ
  4. ไข้เหลือง
  5. ไข้กาฬหลังแอ่น
  6. คอตีบ
  7. โรคบาดทะยักในทารกแรกเกิด
  8. โปลิโอ
  9. ไข้หวัดใหญ่
  10. ไข้สมองอักเสบ
  11. โรคพิษสุนัขบ้า
  12. ไข้รากสาดใหญ่
  13. วัณโรค
  14. แอนแทร็กซ์
  15. โรคทริคิโนซิส
  16. โรคคุดทะราด (เฉพาะในระยะติดต่อ)
  17. โรคอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกอย่างเฉียบพลันในเด็ก
  18. โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือโรคซาร์ส
  19. โรคไข้ปวดข้อยุงลาย
  20. ไข้เลือดออก
  21. โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
  22. โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ส
  23. โรคติดเชื้อไวรัสซิกา

 

หลักการง่าย ๆ ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ได้แก่ การดูแลความสะอาดและสุขอนามัย เช่น การล้างมือทุกครั้งก่อน – หลังรับประทาน/ปรุงอาหาร หรือหลังสัมผัสสิ่งของสาธารณะ อาทิ ลูกบิด ราวบันได ราวบนรถโดยสาร รวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำ ดื่มน้ำสะอาดและนอนหลังพักผ่อนอย่างเพียงพอ ตลอดจนเข้ารับการตรวจร่างกายประจำปีเพื่อคัดกรองความเสี่ยงก็ล้วนแล้วแต่เป็นวิธีในการป้องกันควบคุมโรคทั้งสิ้น

 

สอบถามข้อมูลบริการตรวจสุขภาพได้ที่

เบอร์โทร.  02-374-9604-5

Hotline: 080-9411240, 080-2718365

website: https://www.medicallinelab.co.th/

 

 

Scroll to Top