ทุกคนเคยเป็นกันรึป่าว? เวลากินข้าวมาอิ่มๆอยากจะเอนตัวนอนพัก หรือบางวันก็ทำงานยุ่งๆจนต้องเลื่อนเวลากินข้าวออกไปเรื่อย ๆ ไม่ตรงเวลาเดิมเลยสักวันจนบางทีหลังกินข้าวเสร็จเริ่มรู้สึกจุกแน่น อึดอัด เรอเปรี้ยวแสบร้อนกลางอก หลายๆคนอาจจะคิดว่า ’ก็แค่กินเยอะไปหน่อย เดี๋ยวก็หาย’ แต่อาการเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของ ’โรคกรดไหลย้อน’ ที่อาจเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการกินแล้วนอนทันที ดื่มกาแฟเป็นประจำ หรือแม้แต่ความเครียดที่สะสม ล้วนส่งผลให้กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารจนเกิดอาการ และถ้าหากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงได้
บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับโรคกรดไหลย้อนให้มากยิ่งขึ้น ตั้งแต่สาเหตุว่าเกิดขึ้นได้ยังไง? อันตรายขนาดไหน รักษาให้หายขาดได้หรือไม่? รวมไปถึงแนวทางในการป้องกันและปรับพฤติกรรมเพื่อช่วยบรรเทาอาการ เพื่อให้คุณสามารถดูแลสุขภาพของตัวเองและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากโรคนี้ได้
กรดไหลย้อนเกิดขึ้นได้ยังไง?
โรคกรดไหลย้อน หรือ Gastroesophageal Reflux Disease – GERD เกิดจากภาวะที่กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว หรือรู้สึกจุกแน่นบริเวณลำคอและหน้าอก เนื่องจากความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (LES) ที่ปิดไม่สนิทหรือคลายตัวบ่อยเกินไป และนอกจากนี้ก็ยังมีสาเหตุอื่นหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อนด้วย ตัวอย่างเช่น ความดันในช่องท้องที่เพิ่มสูงขึ้นก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุ ภาวะนี้อาจเกิดจากโรคอ้วน การตั้งครรภ์ หรือการรับประทานอาหารปริมาณมากในคราวเดียวกัน ซึ่งทำให้กระเพาะอาหารต้องขยายตัวและสร้างแรงดันจนดันกรดขึ้นไปในหลอดอาหารได้มากขึ้นและพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิต ก็เป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญ เช่น การกินแล้วนอนทันที การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์มากเกินไป การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง หรือการสูบบุหรี่ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถทำให้หูรูดหลอดอาหารคลายตัว และเพิ่มโอกาสที่กรดจะไหลย้อนขึ้นมา และถ้าหากปล่อยไว้โดยไม่รักษาอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน เช่น หลอดอาหารอักเสบ หรือแผลในหลอดอาหาร
พฤติกรรมแบบไหนเสี่ยงเป็นกรดไหลย้อน
กรดไหลย้อนมักเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหารและการทำงานของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (LES) ซึ่งมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ควรระวังดังนี้
- กินอาหารแล้วนอนทันที – การล้มตัวลงนอนหรือเอนหลังหลังมื้ออาหาร ทำให้กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปได้ง่าย ควรรออย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง ก่อนนอนหรือเอนตัว
- กินอาหารมื้อใหญ่เกินไป – การรับประทานอาหารในปริมาณมากๆ ทำให้กระเพาะอาหารขยายตัวและสร้างแรงดันจนดันกรดขึ้นไปในหลอดอาหารได้
- ดื่มเครื่องดื่มที่กระตุ้นการเกิดกรด – คาเฟอีนในกาแฟ ชา น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่เป็นกรด เช่น น้ำผลไม้รสเปรี้ยว สามารถกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารและทำให้หูรูดหลอดอาหารอ่อนแอลง
- ความเครียดและพักผ่อนไม่เพียงพอ – ความเครียดส่งผลให้ร่างกายหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น และยังส่งผลต่อระบบย่อยอาหารโดยรวม ทำให้มีโอกาสเกิดอาการกรดไหลย้อนได้สูงขึ้น
- การใช้ยาบางชนิด – ยาแก้อักเสบ (NSAIDs) ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาลดความดันบางชนิด และยาต้านซึมเศร้า อาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้หูรูดหลอดอาหารคลายตัวและเพิ่มความเสี่ยงต่อกรดไหลย้อน
อาการกรดไหลย้อน
กรดไหลย้อนเกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ซึ่งทำให้เกิดอาการหลายอย่างที่สามารถรบกวนชีวิตประจำวันได้ อย่างแรกที่พบบ่อยเลยคือ แสบร้อนกลางอกหรือ heartburn จะรู้สึกแสบๆร้อนๆที่บริเวณหน้าอกหรือลิ้นปี่, อาการจุกแน่นที่คอหรือแสบคอเหมือนมีอะไรติดอยู่ที่คอ ทำให้กลืนอาหารลำบากหรือรู้สึกติดขัดเวลากินอาหารด้วย บางคนอาจมีอาการไอเรื้อรังหรือรู้สึกระคายคอซึ่งเกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นไปในหลอดลม และยังอาจทำให้เสียงแหบหรือเจ็บคอเรื้อรังได้เช่นกัน อีกทั้งยังอาจมีกลิ่นปากที่ไม่พึงประสงค์ หรือรู้สึกแน่นหน้าอกที่บางครั้งอาจคล้ายกับอาการโรคหัวใจ แต่จริงๆ แล้วเกิดจากการระคายเคืองในหลอดอาหารจากกรดไหลย้อน
กรดไหลย้อนอาจจะอันตรายกว่าที่คิด
อาการแสบร้อนกลางอกของโรคกรดไหลย้อน บางทีคุณอาจจะคิดว่าปล่อยไว้เดี๋ยวก็คงหายเอง แต่ถ้าหากเกิดขึ้นบ่อยๆการปล่อยไว้เฉยๆอาจจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงกว่าเดิมก็ได้ เพราะกรดที่ไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารไม่เพียงแต่ทำให้เกิดอาการไม่สบายตัว แต่ยังอาจส่งผลกระทบถึงส่วนต่างๆได้อีกด้วย เช่น
- แผลในหลอดอาหาร (Esophageal Ulcers) การสัมผัสกรดในหลอดอาหารบ่อยๆ สามารถทำให้เกิดแผลในหลอดอาหารได้ ซึ่งจะทำให้มีอาการเจ็บปวดอย่างมากและยังสามารถทำให้เกิดเลือดออกได้
- การตีบแคบของหลอดอาหาร (Esophageal Stricture) กรดไหลย้อนที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ อาจทำให้หลอดอาหารตีบแคบลง ซึ่งทำให้กลืนอาหารหรือของเหลวได้ยากขึ้น
- ภาวะหลอดอาหารบาร์ตต์ (Barrett's Esophagus) ภาวะนี้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal Cancer) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
- มะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal Cancer) ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งจะสูงขึ้นหากกรดไหลย้อนไม่ถูกควบคุม ซึ่งมะเร็งหลอดอาหารมีอัตราการรอดชีวิตต่ำและมักพบเมื่อโรคอยู่ในระยะที่รุนแรงแล้ว
- การหายใจลำบากและอาการหอบ (Aspiration Pneumonia) กรดที่ไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารบางครั้งอาจถูกดูดซึมเข้าสู่ปอด (aspiration) ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในปอดหรือปอดบวม (Aspiration Pneumonia)
- ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล (Depression and Anxiety) อาการกรดไหลย้อนที่เรื้อรังและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเครียด วิตกกังวล หรือมีอาการซึมเศร้า เพราะการไม่สามารถทานอาหารได้ตามปกติหรือการมีอาการที่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวสามารถส่งผลต่อจิตใจของผู้ป่วย
การรักษากรดไหลย้อน (Treatment of GERD)
การรักษากรดไหลย้อนหรือ GERD (Gastroesophageal Reflux Disease) มีหลายวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการ ความรุนแรง และปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งการรักษากรดไหลย้อนอย่างรวดเร็วและถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษาที่เหมาะสมหากมีอาการกรดไหลย้อนบ่อยครั้งหรือมีอาการที่ไม่ดีขึ้นจากการรักษาแบบทั่วไป วิธีการรักษามักประกอบไปด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ และในกรณีที่รุนแรงอาจต้องทำการผ่าตัด
ป้องกันกรดไหลย้อนง่ายๆแค่เปลี่ยนพฤติกรรม
มาถึงตรงนี้หลายๆคนอาจจะกังวลเกี่ยวกับความรุนแรงของโรคกรดไหลย้อน แต่จริงๆแล้วมีวิธีป้องกันการเกิดกรดไหลย้อนได้ง่ายๆเพียงแค่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันเท่านั้นเอง และเห็นผลได้จริงโดยไม่พึ่งยา และไม่ต้องรักษาซับซ้อนด้วย ลองมาดูกันว่ามีวิธีไหนบ้าง
- ทานอาหารมื้อเล็กๆ บ่อยๆ เพราะการที่ทานอาหารมื้อใหญ่ๆจะเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหารและทำให้กรดไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารได้ง่ายขึ้น
- หลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้นกรด เช่น อาหารมันๆ เผ็ด ช็อกโกแลต คาเฟอีน และแอลกอฮอล์ เป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ง่าย ควรหลีกเลี่ยงหรือทานในปริมาณที่น้อย
- ไม่ทานอาหารแล้วนอนทันที ควรรออย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงก่อนนอน เพื่อให้กรดย่อยในกระเพาะอาหารและหลีกเลี่ยงกรดไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร
- ลดน้ำหนัก น้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะเพิ่มแรงดันในช่องท้อง
- นอนยกหัวเตียง การนอนในท่าที่หัวสูงกว่าท้องจะช่วยลดโอกาสกรดไหลย้อนขึ้นมาในขณะนอนหลับ ควรยกหัวเตียงขึ้นประมาณ 15-20 เซนติเมตร
- ลดความเครียด ความเครียดสามารถทำให้กรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อน ควรหาวิธีผ่อนคลาย เช่น การฝึกหายใจลึกๆ หรือทำกิจกรรมที่ชอบ
- กินข้าวให้ตรงเวลา ช่วยรักษาระดับการย่อยอาหารให้คงที่ ไม่ให้กระเพาะอาหารว่างนานเกินไป ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดกรดได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างสมดุล
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันสามารถช่วยป้องกันกรดไหลย้อนได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่ทานอาหารมื้อเล็กๆ บ่อยๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นกรด, ลดความเครียด และกินข้าวให้ตรงเวลา ก็สามารถช่วยให้กระเพาะอาหารทำงานได้อย่างสมดุลและลดโอกาสกรดไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารได้ ทำให้ห่างไกลจากโรคกรดไหลย้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่ารอช้า! มาตรวจสุขภาพที่ Medical Line Lab เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณและคนที่คุณรัก
Medical Line Lab ขอมอบโปรโมชั่นพิเศษสำหรับการตรวจสุขภาพประจำปี ปกติราคาท่านละ 1,370.- บาท / มา 2 ท่าน ลด 20% เหลือท่านละ 1096.- บาท / มา 3 ท่าน ลด 30% เหลือท่านละ 959.- บาท
สอบถามหรือจองคิวตรวจสุขภาพประจำปีกับ Medical Line Lab ได้ที่ช่องทางดังนี้
เบอร์โทรศัพท์: 02-374-9604
Line: https://page.line.me/259wtcig?openQrModal=true
Contact us: https://www.medicallinelab.co.th/ติดต่อสอบถาม/
Website: https://www.medicallinelab.co.th/
Facebook: https://www.facebook.com/MLLmedicallinelab
Email: info@medicallinelab.co.th