ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์

ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานควรมีลักษณะอย่างไร

ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของไทยในปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าสมัยก่อนเป็นจำนวนมาก ทั้งห้องปฏิบัติการที่เป็นของหน่วยงานภาครัฐ หรือแม้แต่ห้องปฏิบัติการที่อยู่ในการกำกับดูแลของภาคเอกชน เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้คนในการเข้ารับการตรวจสุขภาพ และสามารถช่วยให้การตรวจรักษาโรคร้ายแรงบางอย่างเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงทีมากยิ่งขึ้น

ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์

 

แล้วห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานควรจะมีลักษณะเช่นไรกัน บทความวันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน ซึ่งทางผู้เขียนเอง ก็ได้นำข้อกำหนดที่เกี่ยวกับระบบคุณภาพที่ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์พึงมี มาเรียบเรียงเพื่อแบ่งปันให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้อ่านทำความเข้าใจถึงลักษณะที่จำเป็นของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานและข้อควรรู้ต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. มีการประเมินสมรรถนะของบุคลากรในการปฏิบัติงาน (Competency)
  2. มีพื้นที่ปฏิบัติงานเหมาะสมต่อการดำเนินงาน มีการออกแบบให้มีความสะดวกและปลอดภัยต่อทั้งผู้รับบริการและผู้ปฏิบัติงาน โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

2.1 สถานที่จัดเก็บตัวอย่างสิ่งตรวจ

2.2 พื้นที่ปฏิบัติการเตรียมตัวอย่างและการทดสอบ

2.3 พื้นที่ปฏิบัติงานธุรการหรือเอกสาร

2.4 ส่วนที่พักบุคลากร

โดยให้คำนึงถึงเรื่องการปนเปื้อน ประโยชน์การใช้งานคุณภาพและความปลอดภัยใน ห้องปฏิบัติการเป็นสำคัญ

  1. มีแผนและมีผลการสอบเทียบ (Calibrate) เครื่องมือหลักที่มีผลกระทบต่อคุณภาพ
  2. มีระบบควบคุมภายใน (Internal Quality Control : IQC) และมีบันทึกติดตามผลการตรวจวิเคราะห์ตามวิธีปฏิบัติในทุกรายการทดสอบที่เปิดให้บริการ รวมทั้งการจัดทำช่วงค่าที่ยอมรับได้ (tolerance limit)

– มีการกำหนดจำนวนและความถี่ของการควบคุมตามความเหมาะสมของการทดสอบ

– มีการตรวจสอบผล การนำข้อมูลการควบคุมคุณภาพ และสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง มาสู่ปฏิบัติการหาแนวทางการแก้ไข และการดำเนินการแก้ไขปัญหา เพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือของผลการทดสอบ ในกรณีที่ผลการควบคุมคุณภาพภายใน (IQC) ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ มีการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาสาเหตุและดำเนินการแก้ไขก่อนดำเนินการตรวจตัวอย่างจากผู้ป่วย

  1. มีการเข้าร่วมโปรแกรมการประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์จากองค์กรภายนอกในทุกรายการทดสอบที่เปิดให้บริการ กรณีที่ไม่มีแหล่งทดสอบให้เข้าร่วม ให้ทำการเปรียบเทียบผลระหว่างห้องปฏิบัติการ (Inter-laboratory comparison) หรือหากยังไม่สามารถเปรียบเทียบผลระหว่างห้องปฏิบัติการได้ ให้ทำการประเมินความสามารถผ่านการทดสอบ (Laboratory’s Performance in Test)

หลอดทดลอง

  1. ระบบความปลอดภัยที่ต้องมีในห้องปฏิบัติการ ประกอบไปด้วย

– ต้องมีระบบป้องกันไฟฟ้ารั่วหรือมีการติดตั้งสายดินไว้

– มีแผนและระบบป้องกันอัคคีภัย

– มีอุปกรณ์ล้างตาพร้อมใช้ในกรณีฉุกเฉิน

– มีแนวทางปฏิบัติเรื่องความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน

– มีป้ายเครื่องหมายแสดงพื้นที่ต่างระดับ

– มีอ่างล้างมือในพื้นที่ที่อาจมีการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่ง

– มีชุดทำความสะอาดสำหรับจัดการสารเคมี เลือดหรือสารคัดหลั่ง หรือเชื้ออันตรายที่ร่วงแตก (Spill kit)

– มีชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First Aid kit)

– ต้องปฏิบัติตามหลัก Universal Precaution อย่างถูกต้อง

– บุคลากรต้องได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยเป็นอย่างดี

  1. ต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบบริหารคุณภาพและการให้บริการอย่างต่อเนื่องและนำข้อมูลการทบทวนระบบบริหารคุณภาพ การปฏิบัติแก้ไข การป้องกันโอกาสเสี่ยง นำข้อมูลกระบวนการก่อน ระหว่าง และหลังการทดสอบ มาเป็นข้อมูลสำหรับกำหนดแผนพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

และนี่คือมาตรฐานที่พึงมีของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์บางส่วนที่ผู้เขียนนำมาฝากท่านผู้อ่านในวันนี้ และที่ “ศูนย์บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เมดิคอลไลน์ แล็บ” ของเราก็มีเครื่องมือและห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ความทันสมัย ครบครัน และได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 15189:2012, ISO 15190:2003 และ ISO 9001:2015 จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ไว้ให้บริการกับทุกท่านด้วย ทุกท่านจึงสามารถมั่นใจได้ ถึงคุณภาพและการดำเนินงานของพวกเรา

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

  • มาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 2562 : http://blqs.dmsc.moph.go.th/assets/MOPHStandardLab2562Editpdf
Scroll to Top