สาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตด้วยโรคต่าง ๆ ของประชากรไทย คือ การละเลยการตรวจสุขภาพ หลาย ๆ ท่านอาจไม่ให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพ ทั้ง ๆ ที่เป็นการช่วยคัดกรองโรคเบื้องต้นที่จะทำให้ทราบว่าเราป่วยหรือมีแนวโน้มที่จะป่วยด้วยโรคใดบ้างหรือไม่ และยังช่วยให้สามารถวางแผนหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม หรือทราบว่าควรระมัดระวังการใช้ชีวิตในเรื่องใดบ้าง แม้ในกรณีที่พบโรคร้ายก็จะทำให้สามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ส่วนสิทธิการตรวจสุขภาพสำหรับคนไทยจะมีอะไรบ้างนั้น สามารถติดตามได้จากบทความนี้
สิทธิการตรวจสุขภาพของข้าราชการ
สำหรับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือผู้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ไม่รวมถึงบุคคลในครอบครัว) สามารถเบิกค่าตรวจสุขภาพประจำปีในสถานพยาบาลของทางราชการได้ปีละ 1 ครั้ง โดยแบ่งการตรวจเป็น 2 ช่วงอายุตามข้อมูลที่ระบุไว้ในเว็บไซต์กรมบัญชีกลาง คือ
-
ผู้มีอายุไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์ สามารถใช้สิทธิการตรวจสุขภาพได้ดังนี้
1.1 เอกซเรย์ปอด
- Film chest
- Mass chest
1.2 ตรวจปัสสาวะ
1.3 ตรวจอุจจาระ
1.4 ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
1.5 ตรวจมะเร็งปากมดลูก
- ตรวจภายใน
- ตรวจ Pap Smear
-
ผู้มีอายุมากกว่า 35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป สามารถใช้สิทธิการตรวจสุขภาพได้ดังนี้
-
ผู้มีอายุไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์ สามารถใช้สิทธิการตรวจสุขภาพได้ดังนี้
2.1 เอกซเรย์ปอด
- Film chest
- Mass chest
2.2 ตรวจปัสสาวะ
2.3 ตรวจอุจจาระ
2.4 ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
2.5 ตรวจมะเร็งปากมดลูก
- ตรวจภายใน
- ตรวจ Pap Smear
2.6 ตรวจสารเคมีในเลือด
- กลูโคส
- คลอเลสเตอรอล
- ไตรกลีเซอไรด์
- การทำงานของไต (BUN)
- การทำงานของตับ (Creatinine)
- การทำงานของตับ (AST)
- การทำงานของตับ (ALT)
- การทำงานของตับ (ALP)
- กรดยูริก
สิทธิการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตน
สำนักงานประกันสังคมได้มอบสิทธิการตรวจสุขภาพให้กับผู้ประกันตนเพื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพได้ปีละ 1 ครั้งโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งสามารถรับบริการได้ ณ โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการทุกแห่ง เพียงยื่นบัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น โดยให้บริการตรวจสุขภาพตามเกณฑ์อายุ ได้แก่
-
การตรวจร่างกายตามระบบ
1.1 การคัดกรองการได้ยิน Finger Rub Test (15 ปีขึ้นไป)
1.2 การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข (30-55 ปีขึ้นไป)
1.3 การตรวจตาโดยความดูแลของจักษุแพทย์ (40-54 ปี)
1.4 การตรวจสายตาด้วย Snellen eye Chart (55 ปีขึ้นไป)
-
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2.1 ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC (18-70 ปีขึ้นไป)
2.2 ปัสสาวะ UA (55 ปีขึ้นไป)
-
การตรวจสารเคมีในเลือด
3.1 น้ำตาลในเลือด FBS (35-55 ปีขึ้นไป)
3.2 การทำงานของไต Cr (55 ปีขึ้นไป)
3.3 ไขมันในเส้นเลือดชนิด Total & HDL cholesterol (20 ปีขึ้นไป)
-
การตรวจอื่น ๆ
4.1 เชื้อไวรัสตับอักเสบ HBsAg (ผู้ที่เกิดก่อนปี 2535)
4.2 มะเร็งปากมดลูก Pap Smear (30-55 ปีขึ้นไป)
4.3 มะเร็งปากมดลูก Via (30-55 ปีขึ้นไป)
4.4 เลือดในอุจจาระ FOBT (50 ปีขึ้นไป) .
4.5 เอกซเรย์ปอด Chest X-ray (15 ปีขึ้นไป)
บัตรทองหรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ปัจจุบันยังไม่มีการมอบสิทธิการตรวจสุขภาพให้กับผู้มีสิทธิ์ทั่วไปโดยตรง แต่จะเป็นในลักษณะของการเข้าพบแพทย์เพื่อคัดกรองความเสี่ยงและซักถามประวัติหรือพฤติกรรมสุขภาพเพื่อตรวจสุขภาพทั่วไปตามความจำเป็น จากนั้นจึงเป็นการส่งตรวจตามดุลยพินิจและข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เท่านั้น
แต่สำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและพักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถเข้ารับสิทธิการตรวจสุขภาพเพื่อตรวจคัดกรองสุขภาพ ณ คลินิกผู้สูงอายุครบวงจรทั้ง 64 แห่งโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งผู้ที่สนใจเข้ารับบริการสามารถแจ้งความจำนงได้ที่โรงพยาบาลหรือศูนย์บริการสาธารณสุข โดยทางหน่วยบริการจะทำบัตรเพื่อเข้ารับบริการที่คลินิกผู้สูงอายุครบวงจรโดยคัดกรองตามรายการทั้ง 11 รายการ ได้แก่
- ตรวจสุขภาพทั่วไป
- เจาะเลือดตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจวัดระดับเม็ดเลือด ระดับไขมัน
- วัดภาวะความซึมเศร้า
- วัดภาวะสมองเสื่อม
- ประเมินด้านโภชนาการ
- ประเมินการใช้ชีวิตประจำวันหรือ ADL
- ประเมินด้านการใช้ยา
- ประเมินภาวะกระดูกพรุน
- คัดกรองภาวะการกลั้นปัสสาวะไม่ได้
- วัดภาวะพลัดตกหกล้ม
- ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพโดยสหสาขาวิชาชีพ
การตรวจสุขภาพเป็นการดูแลสุขภาพในเชิงป้องกันก่อนเกิดโรคที่ทุกคนควรให้ความสนใจโดยเฉพาะผู้ที่มีสิทธิการตรวจสุขภาพดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงเป็นสิทธิประโยชน์ที่คนไทยไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง เข้ารับการตรวจเพื่อใช้สิทธิ์ได้ตามรายชื่อโรงพยาบาล ที่กำหนดจากหน่วยงานรัฐบาลได้ทันที