บริการตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน

S__21364758_0

การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน

การตรวจสุขภาพก่อนเริ่มการทำงานหรือการตรวจตามความเสี่ยง  มีความสำคัญกับทุกประเภทธุรกิจ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล เพื่อการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคและทำให้ได้รับทราบถึงสุขภาวะของบุคลากรก่อนเริ่มงาน อีกความสำคัญของการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานก็เพื่อคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยง เช่นการตรวจหาสารเสพติด หรือการตรวจโรคติดต่อต่างๆ เช่น โรควัณโรค หรือโรคเอดส์ ก็จะเป็นการจำกัดการแพร่ระบาด หรือป้องกันได้ มีหลายรายการตรวจซึ่งแต่ละรายการมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเริ่มงานใหม่ เสริมความมั่นใจให้กับองค์กรและผู้ที่เริ่มงาน โดยปกติแล้วการตรวจจะเป็นการตรวจหาเชื้อไวรัสที่เป็นโรคติดต่อ หรือปัญหาสุขภาพที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการทำงานได้

สหคลินิก เมดิคอลไลน์ แล็บให้บริการตรวจสุขภาพก่อนเข้างานตรวจร่างกายพนักงานก่อนเข้าทำงาน โดยลูกค้าสามารถเลือกสรรรายการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานได้เองเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการในการประเมินสุขภาพก่อนการทำงาน
สหคลินิก เมดิคอลไลน์ แล็บ สามารถให้คำแนะนำในการจัดแพคเกจการตรวจ หรือรายละเอียดเบื้องต้นได้ โดยรายละเอียดการตรวจที่เหมาะสมในการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ได้แก่ การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด CBC เพื่อคัดกรองดูความสมบูรณ์ของร่างกายเบื้องต้น การตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด เพื่อหารอยโรควัณโรค การตรวจการตั้งครรภ์ การตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ เป็นต้น

สหคลินิก เมดิคอลไลน์แล็บ ยินดีให้บริการตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจพนักงานก่อนเข้างาน ตรวจสุขภาพทั่วไป ตรวจสารกลุ่มโลหะหนัก และอนุพันธ์สารระเหย Volatile Organic Compound  ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ครบถ้วน เต็มประสิทธิภาพ

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพพนักงานก่อนเข้าทำงาน

การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน หรือการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มการทำงานหรือการตรวจตามความเสี่ยง  มีความสำคัญกับทุกประเภทธุรกิจ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล บริษัทชั้นนำต่าง ๆเพื่อการคัดกรองความเสี่ยงและรับทราบสภาพของบุคลากรก่อนเริ่มงาน หากในระยะเวลาต่อไปของการทำงานของพนักงานต้องเปลี่ยนแปลงลักษณะการทำงาน ก็จะสามารถรับทราบสภาพของพนักงานและเลือกสรรตำแหน่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม อีกความสำคัญของการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานก็เพื่อคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยง เช่นการตรวจหาสารเสพติด หรือการตรวจโรคติดต่อต่าง ๆ เช่น โรควัณโรค หรือโรคเอดส์ ก็จะเป็นการจำกัดการแพร่ระบาด หรือป้องกันได้ โดยลูกค้าสามารถเลือกสรรรายการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน ได้ด้วยตนเอง ซึ่งเจ้าหน้าที่ของ เมดิคอลไลน์ แล็บ สามารถให้บริการในการจัดแพคเกจการตรวจสุขภาพพนักงานก่อนเข้าทำงาน หรือ ตรวจร่างกายก่อนเข้าทำงาน หรือให้คำแนะนำเบื้องต้นได้

สอบถามรายละเอียดและราคาค่าบริการตรวจสุขภาพ ตรวจร่างกายพนักงานก่อนเข้าทำงานได้ที่

เตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน

logo_medical_เล็ก

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน คืออะไร

การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ผู้ที่ได้รับเลือกเข้าทำงานในบริษัทใหม่ครั้งแรกก่อนเริ่มทำงาน ฝ่ายบุคคลจะให้รายละเอียดกับพนักงานที่ได้รับการคัดเลือกว่าจะต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพรายการใดบ้าง ซึ่งรายการตรวจมักจะมีความแตกต่างขึ้นอยู่กับ แผนกต่างๆ ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าทำงาน พนักงานที่ได้รับการคัดเลือกเข้าทำงาน สามารถนำรายละเอียดรายการตรวจเข้ารับการตรวจในโรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิก ที่บริษัทคัดเลือกให้พนักงานใหม่เข้ารับการตรวจ หรือพนักงานใหม่ก็สามารถนำรายการตรวจสุขภาพก่อนเข้างานที่ได้รับจากฝ่ายบุคคล เข้ารับการตรวจในโรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกใกล้บ้านได้อีกด้วย โดยเป็นไปตามเงื่อนไขบริษัท

การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ควรตรวจอะไรบ้าง

รายการตรวจพื้นฐาน : โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ของเมดิคอลไลน์แล็บ มีรายละเอียดของการตรวจพื้นฐานดังนี้

ตรวจร่างกายโดยแพทย์ (Physical Examination) : โดยการสอบถามประวัติการเจ็บป่วยของผู้รับการตรวจและบุคคลอื่นในครอบครัว ประวัติอาการต่างๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประวัติการใช้ยา รวมถึงพฤติกรรมต่างๆที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ ร่วมกับการตรวจเบื้องต้น เช่น การตรวจวัดความดันโลหิต วัดชีพจร วัดน้ำหนักและส่วนสูง ตรวจหาดัชนีมวลกาย ประกอบกับการตรวจร่างกายเบื้องต้นโดยแพทย์ ซึ่งจะช่วยให้สามารถแยกโรคได้ในระดับหนึ่ง เช่น โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ, ภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน เป็นต้น

เอกซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray (CXR) : การตรวจเอกซเรย์ทรวงอก หรือ เป็นการตรวจทางรังสีวิทยาที่ใช้รังสีเอ็กซ์ถ่ายภาพทรวงอกลงบนแผ่นฟิล์ม เพื่อวินิจฉัยภาวะต่างๆ เกี่ยวกับทรวงอก อวัยวะภายใน และโครงสร้างข้างเคียงการตรวจนี้สามารถช่วยให้เห็นรอยโรคผิดปกติของปอด น้ำในเยื่อหุ้มปอด ขนาดหรือรูปร่างของหัวใจ และสภาพของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำในช่องอก รวมถึงสภาพของกระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง และกระดูกไหปลาร้า

การตรวจนี้มีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคหรืออาการที่เกี่ยวกับปอด เช่น วัณโรคปอด ถุงลมโป่งพอง น้ำท่วมปอด ปอดบวม ปอดแฟบ ภาวะปอดมีฝุ่นจับมาก เนื้องอกในปอด และมะเร็งปอดระยะเริ่มแรก นอกจากนี้ยังสามารถตรวจพบโรคหรืออาการที่เกี่ยวกับหัวใจและกระดูกได้ด้วย

การเตรียมตัวก่อนการตรวจเอกซเรย์ทรวงอก ผู้รับการตรวจไม่ต้องเตรียมล่วงหน้าเป็นพิเศษ ไม่ต้องงดอาหารหรือน้ำ และสามารถรับประทานยาตามปกติได้  ขั้นตอนการตรวจเอกซเรย์ทรวงอก จะเริ่มจากการถ่ายภาพทรวงอกด้วยรังสีเอ็กซ์ จากนั้นภาพจะถูกสแกนเป็นระบบดิจิตอล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับผลการตรวจอย่างรวดเร็ว ภาพเอกซเรย์ที่ได้จะเป็นภาพสองมิติ ซึ่งจะถูกส่งให้แพทย์รังสีอ่านเพื่อคัดกรองและวินิจฉัยโรคเบื้องต้น

571003_0

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) : เพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบของเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ประเมินความเข้มข้นของเลือด ซึ่งอาจบอกถึงสภาวะผิดปกติเช่น ภาวะโลหิตจาง ภาวะที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย จำนวนเกล็ดเลือด รวมถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

การตรวจสารเสพติด (Methamphetamine) ในปัสสาวะ : การตรวจสารเสพติดในปัสสาวะเป็นวิธีการตรวจคัดกรองที่นิยมใช้ในการตรวจหาสารเสพติด โดยระยะเวลาที่สามารถตรวจพบสารเสพติดและของเสียที่เกิดจากการใช้สารเสพติดในปัสสาวะได้ขึ้นอยู่กับความถี่ในการใช้สารเสพติด และระยะเวลาหลังการใช้ สำหรับยาบ้า หรือ Methamphetamine เป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้ไม่รู้สึกอ่อนเพลีย รู้สึกเหมือนมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น แต่เมื่อยาหมดฤทธิ์จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียมาก ซึมเศร้า และหลับนานเพื่อชดเชยพลังงานที่ร่างกายเสียไปหากผู้รับการตรวจใช้ยาเป็นประจำ จะสามารถตรวจพบได้ในระยะเวลา ประมาณ 1-3 สัปดาห์ หลังการใช้

การตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (HBsAg) :ไวรัสตับอักเสบบีเป็นโรคติดต่อที่สามารถติดต่อได้ผ่านการรับเลือด, การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น มีดโกน, กรรไกรตัดเล็บ, แปรงสีฟัน, ผ่านทางสารคัดหลั่งทางเพศสัมพันธ์ หรือบางคนอาจจะสามารถแพร่เชื้อได้ผ่านทางน้ำลายหากเชื้อมีปริมาณมาก จึงเป็นรายการตรวจที่สำคัญสำหรับการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน

การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ทำได้โดยการตรวจเลือด เพื่อหาชิ้นส่วนของไวรัส หรือ HBsAg การรายงานผลเป็นลบ (Negative) หรือ บวก (Positive) หากพบว่าได้ผลบวก แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเอนไซม์ตับ (AST, ALT) เพิ่มเติม เพื่อววางแผนการรักษา

ตรวจการตั้งครรภ์ (Preg test) : เข้าทำงานใหม่ที่เป็นสตรีบางรายอาจไม่รู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ การตรวจจะทำให้ทราบถึงภาวะตั้งครรภ์ และหาแนวทางการปฏิบัติตนต่อไป

ใบรับรองแพทย์ : เป็นเอกสารที่ออกโดยแพทย์ผู้ได้รับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้รับใบอนุญาตจากแพทยสภา เพื่อเป็นการยืนยันว่าผู้ถือใบรับรองแพทย์มีการเข้ารับการตรวจสุขภาพจริง โดยมีการลงรายละเอียดของผลตรวจ ลายมือชื่อแพทย์ผู้ตรวจรวมถึงวันและเวลาที่มาตรวจจริง ซึ่งวัตถุประสงค์ของการขอใบรับรองแพทย์นั้นมีหลายอย่างด้วยกันอาทิเช่น เพื่อใช้ในการทำใบขับขี่, ต่อใบขับขี่, สมัครงาน, สมัครเรียน หรือใช้ลาป่วย เป็นต้น
ใบรับรองแพทย์มีหลายประเภทตามความต้องการในการใช้งานดังนี้:

  • เอกสารที่แพทย์ออกให้ผู้มาตรวจรักษาจริง: ใช้สำหรับยืนยันสุขภาพหรือความเจ็บป่วยแล้วนำไปเบิกค่าใช้จ่ายตามสิทธิการรักษา เช่น ประกัน
  • ใบรับรองแพทย์ใช้สำหรับลาป่วย: ใช้เพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์ตามที่ควรได้และให้เป็นไปตามระเบียบของบริษัทหรือองค์กร
  • ใบรับรองแพทย์ 5 โรค : ใช้สำหรับการสมัครงาน, ทำใบขับขี่, ต่อใบขับขี่, สมัครเรียน หรืออื่น ๆ โดยใบรับรองแพทย์นี้ยืนยันว่าผู้มาตรวจไม่เป็นโรคต่างๆ ใน 5 โรคนี้คือ โรคเรื้อน / Leprosy, วัณโรคระยะอันตราย / Advanced Pulmonary Tuberculosis, ไม่ปรากฏอาการติดยาเสพติดให้โทษ / Drug addiction

สำหรับ โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน ที่เมดิคอลไลน์แล็บ ผู้เข้ารับบริการที่เลือกโปรแกรมตรวจนี้จะได้รับ ใบรับรองแพทย์ 5 โรค

ลำดับขั้นตอนการตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน ต้องตรวจอะไรบ้าง

safety-suit

1. คัดกรองประวัติสุขภาพ

เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของชื่อนามสกุลและตัวบุคคลผู้รับการตรวจ สอบถามประวัติส่วนตัวและ ประวัติสุขภาพ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้แพทย์ใช้ในการตรวจวินิจฉัยสภาวะร่างกาย รายละเอียดที่มีการสอบถาม เช่น อายุ ความสัมพันธ์ โรคประจำตัว ยาหรืออาหารเสริมที่ใช้ในปัจจุบัน อาการผิดปกติของร่างกาย (หากมี)

search

2. ตรวจร่างกายเบื้องต้น

โดยพยาบาลเป็นผู้ทําหน้าที่ในการวัดค่าสัญญาณชีพ เช่น อุณหภูมิร่างกาย ความดัน ชั่งนํ้าหนัก วัดส่วนสูง และสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับรอบเดือน การสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์

medical

3. เจาะเลือด ตรวจหาสารเสพติด ตรวจปัสสาวะ ตรวจอุจจาระ

ขั้นตอนนี้จะขึ้นอยู่กับรายการตรวจที่พนักงานใหม่ได้รับจากฝ่ายบุคคล โดยการตรวจเลือด รายการพื้นฐานที่มักจะได้รับการตรวจ เช่น ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจระดับไขมันในเส้นเลือด ตรวจหาไวรัสตับอักเสบ บี

การเก็บตัวอย่างปัสสาวะ ควรปล่อยปัสสาวะช่วงแรกออกไปก่อน และจึงเริ่มเก็บ ควรเก็บปัสสาวะในได้ปริมาณ 3 ใน 4 ของกระป๋องเก็บตัวอย่าง

การเก็บตัวอย่างอุจจาระ ควรใช้ไม้ หรือช้อนขนาดเล็ก ที่ได้รับไปพร้อมกับกระป๋องเก็บตัวอย่างอุจจาระ ตักอุจจาระให้ได้ปริมาณเท่าเม็ดถั่ว เก็บเฉพาะอุจจาระเท่านั้น ไม่ควรเก็บอุจจาระเหลว

การตรวจสารเสพติด มันตรวจหาจากตัวอย่างปัสสาวะ แต่ก็สามารถตรวจหาจากเหงื่อได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับ รายการตรวจที่บริษัทกำกับ

ตรวจสุขภาพทั่วไป (Physical Examination)

การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ผู้ที่ได้รับเลือกเข้าทำงานในบริษัทใหม่ครั้งแรกก่อนเริ่มทำงาน ฝ่ายบุคคลจะให้รายละเอียดกับพนักงานที่ได้รับการคัดเลือกว่าจะต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพรายการใดบ้าง ซึ่งรายการตรวจมักจะมีความแตกต่างขึ้นอยู่กับ แผนกต่างๆ ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าทำงาน พนักงานที่ได้รับการคัดเลือกเข้าทำงาน สามารถนำรายละเอียดรายการตรวจเข้ารับการตรวจในโรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิก ที่บริษัทคัดเลือกให้พนักงานใหม่เข้ารับการตรวจ หรือพนักงานใหม่ก็สามารถนำรายการตรวจสุขภาพก่อนเข้างานที่ได้รับจากฝ่ายบุคคล เข้ารับการตรวจในโรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกใกล้บ้านได้อีกด้วย โดยเป็นไปตามเงื่อนไขบริษัท

การตอบสนองของดวงตา ดูสีของตาขาวและตาดำ

 ตรวจสอบช่องปาก และต่อมทอนซิล

  ตรวจสอบช่องท้อง

ฟังการทำงานของหัวใจ และปอด

ตรวจสอบผิวหนัง แขน ฝามือ เล็บ

การตรวจสุขภาพก่อนเข้างานนอกรายการตรวจพื้นฐาน

สำหรับในบางตำแหน่งหรืออายุอยู่ในช่วงปีที่ต้องได้รับการตรวจ รายการตรวจจะมีความแตกต่างระหว่างเพศชายและหญิง

รายการตรวจนอกโปรแกรมพื้นฐาน : รายการตรวจบางอย่างมีความจำเป็นในการเข้าทำงานเฉพาะด้าน เช่น

มะเร็งปากมดลูก

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หรือการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV โดยวิธี DNA

ทางเลือกใหม่ในการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่ง่าย สะดวก ไม่เจ็บ ไม่ต้องขึ้นขาหยั่ง สามารถเก็บตัวอย่างได้ด้วยตัวเอง เหมาะสําหรับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว วิธีการตรวจแบบ DNA ผลการตรวจเชื่อถือได้ ด้วยการรับรองมาตรฐาน จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คัดกรองเชื้อ HPV ได้ถึง 15 สายพันธุ์ (15 High-risk HPV)

ตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก

ตรวจหาสารบ่งชี้ PSA (Prostatic specific antigen) ผ่านทางการเจาะเลือด โดยผ่านการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เหมาะสำหรับเพศชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือเพศชายที่เริ่มมีอาการปัสสาวะลำบาก ไม่พุง ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน รู้สึกปวดเมื่อปัสสาวะ หรือมีเลือดปนในปัสสาวะ

ตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก
การตรวจไวรัสตับอักเสบชนิดเอ

การตรวจไวรัสตับอักเสบชนิดเอ

ในธุรกิจบางประเภท เช่น โรงแรม ธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร ต้องมีการตรวจ HAV IgM เพื่อดูการติดเชื้อ และตรวจ HAV IgG เพื่อดูภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอ เนื่องจากโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเอ สามารถติดต่อได้ทางน้ำลาย ในผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการประกอบอาหาร หรือให้บริการในโรงแรม จึงต้องรับการตรวจการติดเชื้อ และวัดระดับภูมิคุ้มกัน หากมีการฉีดวัคซีนแล้ว

การตรวจอุจจาระ (Stool examination and stool culture)

เป็นการตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่ใช้ในการหาสาเหตุของโรคท้องร่วงว่าเกิดจากเชื้อปรสิต (หนอนพยาธิและโปรโตซัว)หรือแบคทีเรียชนิดใด บางครั้งแม้มีการติดเชื้อก็อาจไม่แสดงอาการ ผู้ติดเชื้อจึงทำหน้าที่เสมือนเป็นพาหะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้  การตรวจอุจจาระจึงช่วยป้องกันจุดนี้ได้ 

การตรวจอุจจาระ

การตรวจอาชีวอนามัย มีดังนี้

ตรวจสายตาอาชีวอนามัย (Vistion test occupational)  โดยใช้ เครื่องตรวจสายตาอาชีวอนามัย (Vision screener หรือ Vision tester) สามารถตรวจความผิดปกติของสายตาได้หลายอย่าง ได้แก่ การมองเห็นภาพชัดเจน ทั้งระยะไกล และระยะใกล้  การมองภาพสี การมองภาพ 3 มิติ การตรวจภาวะตาเขซ่อนเร้น ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน การตรวจลานสายตา

S__2621444

ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (Audiogram) : ผู้เข้ารับการตรวจควรมีสภาพร่างกายปกติ ไม่เป็นไข้หวัดหรือหูอื้อ หยุดรับฟังเสียงดัง รวมถึงหลีกเลี่ยงเสียงดังต่างๆ ก่อนตรวจอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ในทางปฏิบัติมักจะทำการตรวจในวันจันทร์ที่เป็นวันแรกของสัปดาห์การทำงาน เพื่อให้พนักงานได้หยุดรับฟังเสียงดังในวันหยุดประจำสัปดาห์ การรายงานผลตรวจเริ่มตั้งแต่ หูปกติ หูตึงน้อย หูตึงปานกลาง หูตึงมาก หูตึงอย่างแรง และ หูหนวก

ตรวจสมรรถภาพปอด (Lung Funtion Test) : เป็นการตรวจที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งในกระบวนการคัดกรองโรคปอดจากการทำงานตั้งแต่ในระยะแรกๆก่อนที่จะมีอาการเนื่องจากปอดเป็นอวัยวะที่มีความอดทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้ค่อนข้างดีอาการเหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง หรือหอบเหนื่อย  จึงมักปรากฏหลังจากพยาธิสภาพในปอดเกิดขึ้นมากแล้ว การตรวจสมรรถภาพปอดจึงถือว่าเป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้นที่ได้มาตรฐานในงานอาชีวอนามัย

  • ผู้ที่ควรตรวจสมรรถภาพปอด ได้แก่ ผู้ที่ต้องสัมผัสกับไอระเหย ฝุ่น ควัน สารเคมีชนิดต่างๆในระหว่างการทำงาน เช่น ทำงานภายในโรงงานที่มีฝุ่น-ควัน-เมืองแร่-ปูน ก่อสร้างโรงงานสารเคมีต่างๆ เป็นต้น, พนักงานที่ทำงานต่างๆที่ต้องอาศัยระบบการทำงานของระบบหายใจที่มีประสิทธิภาพ,  กลุ่มที่ต้องเข้าทำงานในพื้นที่อับอากาศ, การทำงานบนที่สูง, พนักงานที่สูบบุหรี่เป็นประจำ หรือมีโรคประจำตัว
  • การเตรียมตัวก่อนตรวจสมรรถภาพปอด : ใส่เสื้อผ้าที่หลวม ไม่คับ เพื่อให้  ออกแรงหายใจได้เต็มที่ และไม่ควรทานอาหารหนักก่อนมาตรวจ ผู้ที่ใช้ยาขยายหลอดลมควรหยุดยา รวมทั้งหยุดสูบบุหรี่ก่อน 24 ชั่วโมง ใช้เวลาตรวจประมาณ  15 - 30 นาที

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography) : เป็นการตรวจการเปลี่ยนแปลงของคลื่นกระแสไฟฟ้าบริเวณหัวใจ โดยในการตรวจแพทย์จะติดอิเล็กโทรดบริเวณหน้าอกของผู้รับการตรวจ เมื่อกระแสไฟฟ้ามีการรับ-ส่งกันเกิดขึ้น จะถูกแปลงสัญญาณและแสดงผลอัตราการเต้นของหัวใจกับจังหวะการเต้นของหัวใจออกมาในรูปแบบเส้นกราฟซึ่งสามารถการตรวจจับความผิดปกติที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยวินิจฉัยความผิดปกติที่เกิดกับร่างกายได้หลายอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจ หรือแม้กระทั่งการค้นหาสาเหตุของอาการแสดงบางอย่างเช่น เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย เหนื่อยล้าง่าย วิงเวียนศีรษะบ่อยๆ เป็นต้น

  • ผู้ที่ควรตรวจ EKG คือกลุ่มผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป, ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน, ผู้ที่มีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย, ผู้ที่ตรวจพบความดันโลหิตสูง หรือมีอาการลิ้นหัวใจรั่ว

ตรวจสมรรถภาพกล้ามเนื้อมือ-ขา-หลัง (Grip strength muscle , Leg strength muscle ,Back strength muscle) : เพื่อประเมินความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อมือ กล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อหลัง มีความจำเป็นในงานที่ต้องใช้กำลังในการยกหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของ เทียบกับเกณฑ์ค่ามาตรฐานว่าอยู่ในระดับใด การตรวจสมรรถภาพกล้ามเนื้อควรกระทำก่อนการเจาะเลือดเพื่อหลีกเลี่ยงการช้ำจากเลือดออกใต้ผิวหนังบริเวณที่เจาะเลือด

100012
91-pi+zT1tL._SP5035,5035,0_91xcvD9xQGL.jpg,91yWvvJAn+L.jpg,91qjhfNhM4L.jpg,91PeL0bBBYL.jpg,91ej4At5ovL.jpg_

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน

logo_medical_เล็ก
  1. งดดื่มสุรา และพักผ่อนให้เพียงพอก่อนการตรวจ
  2. รับประทานยาประจําตัวตามปกติ แต่ควรแจ้งแพทย์หากมียาที่กําลังใช้งานอยู่
  3. สวมใส่เสื้อผ้าที่สะดวกสบายเพื่อการเจาะเลือด
  4. พกบัตรประจําตัวประชาชนเพื่อใช้ในการยืนยันตัวตน
  5. การอดอาหารก่อนการตรวจเลือดอาจจําเป็นในบางกรณี เช่น:
    • งดอาหาร 8ชั่วโมง สําหรับการตรวจนํ้าตาลในเลือด
    • งดอาหาร 10-12ชั่วโมง สําหรับการตรวจไขมันในเลือด
  6. สามารถดื่มนํ้าเปล่าได้ระหว่างอดอาหาร
  7. หลังการเจาะเลือดให้กดแผลไว้เบาๆ ประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้เลือดหยุดไหล และหากมีอาการวิงเวียนศีรษะหน้ามืด หรืออาการข้างเคียงอื่นๆ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
  8. การตรวจปัสสาวะ เพศหญิงหากผู้เข้ารับการตรวจอยู่ระหว่างมีประจำเดือน ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบ ไม่ควรเก็บตัวอย่างปัสสาวะขณะมีประจำเดือน เพราะสามารถกระทบต่อการวิเคราะห์การตรวจปัสสาวะได้
  9. การตรวจอุจจาระ ควรงดอาหารที่มีไขมันมาก อาหารปิ้งย่าง ก่อนเก็บตัวอย่างอุจจาระ 1-2 วัน
  10. เตรียมคำถามหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการผิดปกติของตนเอง หรือหากในครอบครัวมีประวัติเจ็บป่วย ก็สามารถสอบถามแพทย์ได้ หากมีใบรายการตรวจสุขภาพครั้งก่อน สามารถนำเข้าปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมได้เช่นกัน

สหคลินิกเมดิคอลไลน์แล็บ บริการตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน ทั้งสำหรับผู้สนใจเข้ารับการตรวจทั่วไป และแบบสัญญาการตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน สำหรับบริษัท โรงแรม หรือหน่วยงาน ที่ต้องการผลการตรวจสุขภาพพนักงานก่อนเข้างาน

สอบถามรายละเอียดและราคาค่าบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้างานได้ที่

― บริการที่เกี่ยวข้อง ―

ตรวจสุขภาพ 11 มีค.60_๑๗๐๓๑๔_0081
บริการตรวจสุขภาพทั่วไป
ประจำปี 4
บริการตรวจสุขภาพประจำปี
สารโลหะหนัก 1
บริการตรวจวิเคราะห์โลหะหนัก
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
Scroll to Top