มลพิษทางอากาศ

อันตรายจากภัยคุกคามในอากาศ

          ภัยคุกคามในอากาศ รวมถึง มลพิษทางอากาศ อาทิ ฝุ่นละออง โมเลกุลชีวภาพ หรือวัตถุอันตรายอื่น ๆ ที่ลอยปะปนอยู่ในชั้นบรรยากาศที่ส่งผลต่อระบบนิเวศ และถือเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์ จึงเป็นสาเหตุของการเกิดโรค อาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ไปจนถึงการเสียชีวิต

แม้สารมลพิษทางอากาศบางชนิดอาจไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่กลับส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของเราโดยตรงผ่านการหายใจเอาอากาศที่มีมลพิษปะปนอยู่เข้าสู่ร่างกาย เราทุกคนจึงควรทราบวิธีการป้องกันตนเองจากอันตรายจากภัยคุกคามในอากาศเหล่านี้ โดยเฉพาะในผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่มีภาวะความเสี่ยงสูง เช่น เด็ก สตรีครรภ์ ผู้สูงวัย ผู้ที่เป็นโรคปอดหรือโรคหัวใจ

มลพิษทางอากาศ

แหล่งที่มาของมลพิษทางอากาศ

เกิดได้จากทั้งแหล่งกำเนิดทางธรรมชาติและจากฝีมือมนุษย์

  • จากธรรมชาติ ได้แก่ ไฟป่า การระเบิดของภูเขาไฟ การเน่าเปื่อย ฝุ่นละออง
  • จากฝีมือมนุษย์ ได้แก่ การเผาไหม้เชื้อเพลิง กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีต่าง ๆ ควันธูป การสูบบุหรี่ ไอเสียจากรถยนต์และยานพาหนะต่าง ๆ

อาการที่พบเมื่อได้รับมลพิษทางอากาศ

อาการเบื้องต้น ได้แก่ การระคายเคืองตา จมูก และคอ แน่นหน้าอก ไอ มีอาการเจ็บปวดเมื่อหายใจ เซื่องซึม วิงเวียน หัวใจเต้นเร็ว ปวดศีรษะ ใจสั่น สับสน หมดสติ และอาจถึงแก่ชีวิตได้

ตรวจสุขภาพทั่วไป

ผลกระทบต่อสุขภาพ

ผลกระทบที่เกิดจากภัยคุกคามในอากาศขึ้นอยู่กับชนิด ปริมาณ และระยะเวลาที่ได้รับมลพิษ ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น

  • อันตรายคุกคามต่อหัวใจ

การได้รับมลพิษทางอากาศอาจส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจชนิดรุนแรงหรือเฉียบพลันได้ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย อัตราการผันแปรการเต้นของหัวใจลดลง ตลอดจนเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ซึ่งอันตรายถึงชีวิต นอกจากนี้ ยังพบว่าอาจเป็นสาเหตุของภาวะหลอดเลือดแข็งที่นำไปสู่การเกิดภาวะหัวใจวายและหลอดเลือดสมองตีบได้

  • อันตรายคุกคามต่อปอดและทางเดินหายใจ

มลพิษในอากาศเป็นทั้งสาเหตุและปัจจัยที่กระตุ้นให้โรคกำเริบ ทำให้เกิดโรคและความผิดปกติเกี่ยวกับปอดและระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด ไซนัส ภูมิแพ้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด อีกทั้งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี โดยจะลดประสิทธิภาพการทำงานของปอด เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจชนิดพิษเฉียบพลันและเรื้อรัง

  • อันตรายคุกคามต่อสมอง

การเผชิญกับมลพิษในอากาศเป็นระยะเวลานานจะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และความหนืดของเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดในสมองได้ ตลอดจนเกิดความผิดปกติของระบบประสาท

ภัยคุกคามในอากาศ

วิธีหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศ

  • หลีกเลี่ยงการอยู่นอกบ้าน กลางแจ้ง หรือการทำกิจกรรมในพื้นที่ที่มีมลพิษสูง
  • หลีกเลี่ยงการทำงานในพื้นที่ที่มีมลพิษสูง หากจำเป็น ควรจัดให้มีการระบายอากาศถ่ายเทอากาศบริสุทธิ์ให้หมุนเวียนเปิดไว้ หรือติดตั้งพัดลมดูดอากาศ
  • เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ปราศจากสารฟอร์มัลดีไฮด์ ลดการใช้ฝ้าเพดานที่ใช้แร่ใยหิน การใช้กระดาษทรายขัดไม้ การเลื่อยไม้ การทาสีบ้าน
  • ทำความสะอาดที่พักอาศัยอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงคอยดูแลให้บริเวณบ้านปราศจากควัน และหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งที่มีการเผาไหม้ เช่น ธูป เทียน การปิ้งย่าง หรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่ทำให้เกิดควัน
  • สวมหน้ากากป้องกันทางเดินหายใจที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้ากาก N95 และหน้ากาก N99
  • หมั่นตรวจสุขภาพทั่วไปเป็นประจำเพื่อคัดกรองความเสี่ยงและตรวจหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกาย
  • ในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด ภูมิแพ้ ควรปรึกษาแพทย์และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากพบอาการผิดปกติต่าง ๆ ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
  • ช่วยกันลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดมลพิษ อาทิ หลีกเลี่ยงการเผาไหม้ที่ไม่จำเป็น การติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้

 

ตรวจสุขภาพทั่วไปกับผู้เชี่ยวชาญอย่าง ‘เมดิคอลไลน์ แล็บ’

ศูนย์การแพทย์ เมดิคอลไลน์ แล็บ ยินดีให้บริการในการตรวจสุขภาพทั่วไปเพื่อคัดกรองความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการได้รับมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงหรือผู้ที่จำเป็นต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศ สามารถตรวจวัดได้จากเลือด ปัสสาวะ สมรรถภาพการทำงานของปอด หัวใจ การได้รับมลพิษทางอากาศในปริมาณมากหรือเป็นระยะเวลานานจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงไม่ควรละเลยหรือมองข้าม ศูนย์การแพทย์ เมดิคอลไลน์ แล็บ ให้บริการตรวจสุขภาพทั่วไปเพื่อคัดกรองความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการได้รับมลพิษทางอากาศด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและมีมาตรฐานรับรอง พร้อมผลการวิเคราะห์ที่มี่ความน่าเชื่อถือสูง และการบริการที่เป็นเลิศ

Scroll to Top