สายพันธุ์โควิดพลัส ที่ระบาดทั่วโลกและในประเทศไทยมีอะไรบ้าง หาคำตอบได้จากบทความนี้

สายพันธุ์โควิดพลัส ที่ระบาดทั่วโลกและในประเทศไทยมีอะไรบ้าง หาคำตอบได้จากบทความนี้

ทำความรู้จักโควิดกลายพันธุ์ อันตรายกว่าสายพันธุ์เดิมจริงหรือไม่

นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีนเมื่อปลายปี พ.ศ 2562 จนถึงปัจจุบัน สถานการณ์โควิดยังคงเป็นวิกฤติการณ์โลกที่น่ากังวลโดยเฉพาะในหลาย ๆ ประเทศที่มีอัตราผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตสะสมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้กับประชากรแล้วเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ เนื่องจากเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถกลายพันธุ์และเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ทำให้ทั่วโลกต้องหาวิธีรับมือกับการกลายพันธุ์เหล่านี้ ซึ่งก็ยังไม่พบวิธีใดที่ได้ผล 100% จากที่เคยป้องกันการระบาดของโควิดในระลอกที่ผ่านๆ มาได้ดีกลับต้องมาเผชิญกับโควิดกลายพันธุ์ระลอกใหม่ที่สามารถแพร่กระจาย ติดเชื้อได้เร็วขึ้น สามารถหลบเลี่ยงแอนติบอดีภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น จึงทำให้เกิดการระบาดอย่างหนัก และมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากนั่นเอง

 

ไวรัสโควิดกลายพันธุ์ได้อย่างไร

การกลายพันธุ์หรือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม DNA หรือ RNA ของเชื้อไวรัสนั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยเมื่อไวรัสแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไวรัสก็จะมีการแบ่งตัวเพิ่มมากขึ้น และอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคงอยู่และเอาตัวรอดของมันเอง บางครั้งการเปลี่ยนแปลงนี้ก็อาจเป็นการทำลายตัวไวรัสเอง แต่การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างก็อาจส่งผลให้โรคนั้น ๆ ติดต่อกันง่ายขึ้นหรือมีความรุนแรงมากขึ้น และเมื่อไวรัสมีการแพร่กระจายไปสู่ประชากรกลุ่มใหญ่ โอกาสในการเปลี่ยนแปลงสารทางพันธุกรรมเหล่านี้ก็จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วย เมื่อมีผู้ติดเชื้อมากในระยะเวลาหนึ่ง สารพันธุกรรมจะเปลี่ยนแปลงจากสารพันธุกรรมดั้งเดิมอย่างชัดเจนจนกลายเป็นไวรัสกลายพันธุ์ที่อาจจะแพร่เชื้อได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น หรือกำจัดได้ยากขึ้น โดยจากการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 ขณะนี้ทั่วโลกได้ตรวจพบสายพันธุ์หลักและสายพันธุ์ย่อยเกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมากกว่า 1,000 สายพันธุ์ทีเดียว

 

สายพันธุ์โควิดพลัส ที่ระบาดทั่วโลกและในประเทศไทยมีอะไรบ้าง

ปัจจุบันสายพันธุ์โควิดพลัสที่ระบาดทั่วโลกและในประเทศไทยหลัก ๆ นั้นมีอยู่ 2 สายพันธุ์ ได้แก่

  • โควิดสายพันธุ์อัลฟาพลัส
    covid alta plus

อัลฟาพลัส (Alpha Plus) เป็นสายพันธุ์โควิดที่กลายพันธุ์จากสายพันธุ์หลักคือสายพันธุ์อัลฟา (B.1.1.7) ที่มีการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง E484K บนหนามของไวรัส ทำให้ไวรัสหลบภูมิคุ้มกันได้ดี จึงทำให้ไวรัสแพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์อื่น 40-70% และอาจทำให้การตอบสนองภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อซ้ำได้ อัลฟาพลัสพบครั้งแรกในอังกฤษเมื่อปลายปี พ.ศ. 2563 ปัจจุบันเป็นสายพันธุ์โควิดพลัสที่ระบาดหนักในหลายประเทศ อาทิ เยอรมัน โปแลนด์ ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ สวีเดน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ อินเดีย ตุรกี อิสราเอล ฟินแลนด์ สก็อตแลนด์ โปรตุเกส รวมถึงประเทศไทย ซึ่งพบผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์อัลฟาพลัสครั้งแรกเมื่อเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2564 โดยเป็นผู้ต้องขังใน จ.เชียงใหม่ 2 ราย และต่อมาพบผู้ติดเชื้อในล้งลำไย จ.จันทบุรี และ จ.ตราด เป็นชาวไทย 4 ราย และกัมพูชา 12 ราย รวมทั้งหมด 18 ราย

อาการโควิดสายพันธุ์อัลฟาพลัส

มีอาการคล้ายกับจากการติดเชื้อของโควิดสายพันธุ์อัลฟา B.1.1.7 ได้แก่ มีไข้สูง 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหอบ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยร่างกาย สูญเสียการรับรส หรือรับกลิ่น

  • โควิดสายพันธุ์เดลตาพลัส

    Covid delta plus

เดลตาพลัส (Delta Plus) เป็นสายพันธุ์โควิดที่กลายพันธุ์จากสายพันธุ์หลักคือสายพันธุ์เดลตา (B.1.617.2) ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์แบบ K417N ในโปรตีนหนามของไวรัสเหมือนกับสายพันธุ์เบตา ทำให้สายพันธุ์เดลตาพลัสยึดเกาะกับเซลล์ในปอดได้ง่ายขึ้นและแพร่เชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์เดลตามากขึ้น 10-15% สำหรับเดลตาพลัสมีการพบครั้งแรกในแถบยุโรปช่วงเดือนมีนาคม และในประเทศอินเดียในช่วงเดือนเมษายน ปัจจุบันพบว่าสายพันธุ์เดลตาพลัสมีการระบาดในหลายประเทศทั่วโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น โปแลนด์ เนปาล รัสเซีย จีน ตุรกี เดนมาร์ค อินเดีย รวมถึงประเทศไทย ซึ่งพบผู้ป่วยครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 จำนวน 1 รายที่จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีประวัติทำงานที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อาการโควิดสายพันธุ์เดลตาพลัส

สำหรับอาการโควิดสายพันธุ์เดลตาตาพลัสนี้ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดศีรษะ มีน้ำมูก คล้ายไข้หวัด ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส และอาจไม่แสดงอาการหนักในผู้ติดเชื้อที่มีอายุน้อย จึงอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ผู้ติดเชื้อรับเชื้อมาโดยไม่รู้ตัว และเกิดการแพร่เชื้อในวงกว้างเร็วยิ่งขึ้น

 

ป้องกันตนเองจากสายพันธุ์โควิดพลัสง่าย ๆ ด้วยวิธีต่อไปนี้

การปฏิบัติตัวตามมาตรการป้องกันตนเองยังคงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิดทั้งสายพันธุ์ธรรมดาและโควิดพลัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท เว้นระยะห่างจากบุคคลอื่นอย่างน้อย 1-1.5 เมตร ซึ่งจะช่วยลดอัตราการติดเชื้อถึง 5 เท่า รวมถึงเข้ารับการฉีดวัคซีนทันทีที่มีโอกาสเพื่อป้องกันอาการรุนแรงจากการติดเชื้อ นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตอาการของตัวท่านเองและคนรอบข้างอยู่เสมอ เก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย และหากมีไข้ ไอ และหายใจลำบาก ควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจโควิดและป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสและการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

 

ศูนย์การตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ เมดิคอลไลน์ แล็บ บริการตรวจคัดกรองโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR โดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความชาญและเชี่ยวชาญในการตรวจหาสารพันธุกรรม แม่นยำสูง ทราบผลรวดเร็ว ดำเนินการในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่มั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัย เนื่องจากได้รับการรับรองว่าเป็นห้องปฏิบัติการมาตรฐานการตรวจหาเชื้อโควิด–19 จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีอยู่เพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย สามารถสอบถามรายละเอียดหรือทำการนัดหมายล่วงหน้าเพื่อความสะดวกและรวดเร็วได้ที่

Tel.: 02-3749604-5

Facebook: medicallinelab

Line: @medicallinelab

website: www.medicallinelab.co.th

 

Ref:

https://www.sikarin.com/health/delta-plus-โควิดสายพันธุ์อันตราย

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/มาทำความรู้จักโควิดกลา/

Scroll to Top