logo_medical_เล็ก

สหคลินิกเมดิคอลไลน์ แล็บ (บริษัท เมดิคอลไลน์ แล็บ)

ดูแลตนเองอย่างไรให้สุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ

สุขภาพกาย หมายถึง สภาพของร่างกายที่มีความแข็งแรง สมบูรณ์ ระบบต่าง ๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้อย่างปกติและมีประสิทธิภาพ ต้านทานโรคได้ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บหรือความทุพพลภาพ

สุขภาพจิต หมายถึง สภาวะทางจิตใจมีความสดชื่น แจ่มใส สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี ตลอดจนสามารถควบคุมอารมณ์ให้มั่นคงเป็นปกติ ปราศจากความขัดแย้งหรือความสับสนภายในจิตใจ

การมีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจที่ดีมีความสัมพันธ์กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อันจะนำมาซึ่งความสุขในชีวิตที่ทุกคนปรารถนา เพราะการมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงย่อมส่งผลให้จิตใจสดชื่น เบิกบาน ในทางตรงข้าม หากร่างกายที่ไม่แข็งแรงก็ย่อมส่งผลให้จิตใจห่อเหี่ยว มีแต่ความกังวล และนี่คือวิธีปฏิบัติง่าย ๆ ที่จะนำมาซึ่งสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ

good food

  1. เลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้องตามหลักโภชนาการ

อาหารที่มีประโยชน์เป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายที่ดี การรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ สด สะอาดให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจะช่วยให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ

  1. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 8–10 แก้ว

อย่างที่ทราบกันดีว่าร่างกายมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบถึงร้อยละ 70 การดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก เนื่องจากน้ำเป็นตัวกลางในการเกิดปฏิกิริยาเคมีทุกชนิดตั้งแต่กระบวนการการย่อยอาหาร กระบวนการดูดซึมอาหาร และกระบวนการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย หากขาดน้ำ ร่างกายอาจทำงานผิดปกติได้

  1. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายมีส่วนช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เพราะทำให้หัวใจ กล้ามเนื้อ ปอดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตและระบบเผาผลาญทำงานได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยผ่อนคลายความเครียดจากการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (Endorphins) หรือสารแห่งความสุข

  1. นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ

ร่างกายต้องการการพักผ่อนอย่างน้อย  6-8 ชั่วโมงขึ้นกับช่วงอายุ ในขณะนอนหลับเป็นช่วงที่ร่างกายจะได้พักผ่อน ฟื้นฟู และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้อย่างเต็มที่ ตลอดจนเป็นช่วงที่ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนต่อต้านการแก่ชรา การขาดการนอนหลับทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ และอาจทำให้ดูแก่ก่อนวัยได้

  1. บริหารและบำรุงสมองอย่างต่อเนื่อง

สมองเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากรับหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของระบบและอวัยวะต่าง ๆ ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด การบริหารสมองไม่ว่าจะเป็นการเล่นหมากรุก เกมอักษรไขว้ เกมจับผิดภาพ เกมจำตำแหน่งภาพจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพสมองที่ดี นอกจากนี้อาจรับประทานสารอาหารที่ช่วยบำรุงสมองอย่างน้ำมันปลาและวิตามินบีร่วมด้วยเพื่อช่วยในการหมุนเวียนเลือดและลดอาการหลงลืม

  1. ฝึกการปล่อยวาง

จิตใจที่เป็นทุกข์ย่อมนำมาซึ่งความเครียดและความวิตกกังวล ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างมาก การมองโลกในแง่ดี ปล่อยวางจะช่วยให้จิตใจสงบและไม่จมอยู่กับความทุกข์ อาจเริ่มจากการนั่งสมาธิอย่างน้อยวันละ 5-10 นาทีเพื่อพิจารณาสิ่งที่ผ่านเข้ามาชีวิต เมื่อฝึกได้ระยะหนึ่ง เราก็จะสามารถควบคุมสติ อารมณ์ มีมุมมองต่อโลกในแง่ดีขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพจิต และห่างไกลจากโรคเครียดหรือโรคซึมเศร้า

  1. เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

doctor-practicing-with-her-stethoscope_1232-398

การตรวจสุขภาพถือเป็นการลงทุนเบื้องต้นสำหรับการมีชีวิตที่ยืนยาว โดยจะช่วยตรวจหาโรคที่แอบแฝงและป้องกันความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนของโรคที่อาจเกิดขึ้น ยิ่งหากพบความผิดปกติเร็วขึ้นเท่าไร ก็จะช่วยให้รักษาได้เร็วขึ้นเท่านั้น แม้เพียงแค่ตรวจพบความเสี่ยง เราก็สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตให้ถูกต้องได้ ทุกคนจึงควรเข้ารับบริการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีโดยมีแนวทางการตรวจสุขภาพตามช่วงอายุ ดังนี้

  • วัยรุ่น (อายุ 13-18 ปี)

แม้คนส่วนใหญ่ในวัยนี้จะมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ค่อยมีปัญหามากนัก แต่จริง ๆ แล้ว วัยนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสะสมโรคที่จะส่งผลตอนอายุเพิ่มขึ้น การตรวจสุขภาพในช่วงวัยนี้ควรเน้นไปที่การตรวจสุขภาพโดยรวม เช่น ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจระดับไขมันในเลือด ตรวจระบบการทำงานของตับไต ตรวจปัสสาวะ และเอกซเรย์ปอด เป็นต้น

  • วัยทำงาน (อายุ 19-39 ปี)

เป็นช่วงแสวงหาความมั่นคงในชีวิต จึงมักทำงานหนักจนลืมดูแลสุขภาพ ในช่วงนี้เองจึงเป้นจุดเริ่มต้นของการแสดงอาการของโรคต่าง ๆ ที่สะสมมาก่อนหน้า นอกจากการตรวจสุขภาพองค์รวมแล้ว ยังควรตรวจวัดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งปากมดลูกในสุภาพสตรีที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป

  • วัยกลางคน (อายุ 40-59 ปีขึ้นไป)

เป็นวัยที่โรคร้ายต่าง ๆ จะเริ่มแสดงออกอย่างชัดเจน จึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างละเอียด และเน้นไปที่การตรวจหาโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดินปัสสาวะ โรคอ้วน โรคมะเร็งต่าง ๆ เป็นต้น โดยผู้หญิงควรจะเน้นการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ผู้ชายควรเน้นการตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก

  • วัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป)

เป็นวัยที่อวัยวะและระบบต่าง ๆ ในร่างกายเริ่มเสื่อมถอย จึงควรเน้นการตรวจการทำงานของร่างกายอย่างละเอียดโดยเฉพาะโรคที่เกิดจากสภาพที่ถดถอยของอวัยวะอย่างหัวใจ ไต สมอง อวัยวะในช่องท้อง คัดกรองมะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ รวมถึงตรวจมวลกระดูก

แม้การตรวจสุขภาพประจำปีจะช่วยให้มั่นใจได้ถึงการมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แต่หากต้องไม่ลืมที่จะดูแลสุขภาพจิตใจให้แข็งแรงอยู่เสมอเช่นกัน ซึ่งการมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีย่อมนำมาซึ่งความสุขในชีวิตได้ไม่ยาก

สอบถามรายละเอียดบริการตรวจสุขภาพจาก Medical line lab ได้ที่

Tel.: 080-271-8365 หรือ 02-3749604-5

Facebook: medicallinelab

Line: @medicallinelab

website: www.medicallinelab.co.th

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก

https://www.chularat3.com/knowledge_detail.php?lang=th&id=504

https://www.thaihealth.or.th/Content/47617-ควรตรวจสุขภาพอย่างไรในแต่ละช่วงวัย.html

https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4/Article/Details/บทความตรวจสุขภาพ/เช็คลิสต์การตรวจสุขภาพ-ของคนในแต่ละช่วงวัย

 

Scroll to Top
Scroll to Top