การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ปัจจุบันนั้น มีช่องทางในการตรวจมากมายหลายวิธีขึ้นอยู่กับโรคหรืออาการที่ต้องการตรวจ แต่กระนั้นวิธีการตรวจอวัยวะภายในที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งท่านอาจจะเคยคุ้นชื่อกันก็คงไม่พ้นการตรวจโดยการฉายรังสีหรือเอกซเรย์ (X-ray) นั่นเอง แล้วการเอกซเรย์นี้มีกระบวนการในการตรวจอย่างไร? และสามารถนำมาบ่งชี้ความผิดปกติของร่างกายเราได้อย่างไร?
เอกซเรย์ (X-ray) เป็นการตรวจร่างกายที่มีที่มาจากชื่อรังสีที่นำมาใช้ในการตรวจ นั่นก็คือรังสี X โดยตัวรังสี X นี้มีลักษณะเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และเพื่อสร้างภาพเอกซเรย์มาใช้ประกอบการวินิจฉัย จะมีการปล่อยรังสีออกมาเป็นช่วง ๆ ผ่านร่างกายของผู้ป่วยไปยังแผ่นฟิล์มที่อยู่ด้านหลัง โดยปกติแล้วเนื้อเยื่อและอวัยวะในร่างกายของมนุษย์จะมีคุณสมบัติในการดูดซับพลังงานจากรังสีแตกต่างกัน จึงทำให้ภาพที่ได้จากการฉายรังสีออกมามีความชัดไม่เท่ากัน โดยกระดูกจะสามารถดูดซับพลังงานจากรังสีได้มากที่สุดเพราะมีส่วนประกอบของแคลเซียมอยู่มาก กระดูกจึงดูดซับรังสีไว้ผ่านกระบวนการ photoelectric ทำให้ภาพที่ปรากฏบนแผ่นฟิล์มเป็นสีขาว ส่วนรังสีที่ผ่านส่วนที่ไม่ทับซ้อนกับกระดูกจะดูดซับรังสีได้น้อยลง จะทำให้มองออกเป็นสีขาวออกเทา แล้วแต่ปริมาณรังสีที่บริเวณนั้นสามารถดูดซับไปได้ และอากาศจะไม่ดูดซับรังสีเลย ทำให้ภาพส่วนที่รังสีวิ่งผ่านอากาศจะกลายเป็นสีดำสนิท และจากภาพที่ได้มาจากกระบวนการเหล่านี้นี่เอง ที่เป็นรูปภาพของอวัยวะภายในร่างกายของเราที่แพทย์จะนำไปวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติอะไรหรือไม่ อย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการตรวจรักษาต่อไป
ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาขึ้นมามาก มีการพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาแทนที่การใช้ฟิล์มแบบเดิม ซึ่งการพัฒนาของระบบภาพรังสีคอมพิวเตอร์และภาพรังสีดิจิตอลนี้ ก็ช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้สถานที่ในการตรวจ และรายงานผล โดยสามารถทำการเอกซเรย์ได้ในทุกที่ที่ระบบเครือข่ายสามารถเชื่อมโยงไปถึง ส่วนในการเอกซเรย์เนื้อเยื่ออวัยวะในระบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กระดูกนั้น จำเป็นต้องนำสารทึบรังสี ซึ่งเป็นองค์ประกอบของธาตุอะตอมหนักที่มีความสามารถกั้นรังสี X ได้มาใช้ โดยได้มีการพัฒนาสารทึบรังสีดังกล่าวให้ปลอดภัยขึ้น และส่งผลกับตัวผู้เข้ารับการตรวจน้อยที่สุด ซึ่งการตรวจเอกซเรย์เนื้อเยื่อที่นิยมตรวจกันนั้น ได้แก่
- การเอกซเรย์ทรวงอก (Chest X-Ray) – เป็นการเอกซเรย์ที่บริเวณช่วงอกเพื่อดูความผิดปกติของปอด หัวใจ หรือระบบหลอดเลือดหัวใจ แต่ในส่วนของการเอกซเรย์ช่วงอกเพื่อตรวจหามะเร็งเต้านมนั้น จะเรียกว่า แมมโมแกรม (Mammogram)
- การเอกซเรย์ช่องท้อง (Abdomen X-Ray) – ใช้ใน 2 กรณี คือ
– ตรวจดูความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารโดยใช้แบเรียมเป็นสื่อนำ
– กรณีฉุกเฉินที่มีการเกิดสิ่งแปลกปลอมที่เป็นโลหะตกค้างอยู่ในร่างกาย
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าการเอกซเรย์นั้น มีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติภายในร่างกายของเรามาก เพราะสามารถฉายภาพออกมาวินิจฉัยได้โดยที่ไม่ต้องทำการผ่าตัด และความเสี่ยงจากการรับรังสีเกินขนาด (Radiation Poisoning) เองนั้น ในปัจจุบันก็ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาการเอกซเรย์จนทำให้ความเสี่ยงดังกล่าวน้อยลงไปมากจนแทบจะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ กับร่างกายของผู้เข้ารับการเอกซเรย์แล้ว
และหากท่านสนใจที่จะรับบริการตรวจเอกซเรย์เคลื่อนที่ เราขอแนะนำ “ศูนย์บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เมดิคอล ไลน์ แล็บ” ศูนย์บริการที่มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพที่มีประการณ์งานกว่า 40 ปี เรามีบริการตรวจเอกซเรย์เคลื่อนที่ที่มีอุปกรณ์ที่ครบครัน ได้มาตรฐาน พร้อมให้บริการท่านด้วยความเป็นมืออาชีพ และมีใบรับรองคุณภาพ ทำให้ท่านมั่นใจได้ว่าผลตรวจที่ออกมามีมาตรฐานและเชื่อถือได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
- เอกซเรย์ – https://www.honestdocs.co/x-ray?fbclid=IwAR08cN9Xv9RRukxg9OGJCUISzyeIlfvhPbfM6zoH0VIZAlAAp7dGxcePGr8
- รู้ไว้ก่อนไปเอกซเรย์ – https://www.pobpad.com/รู้ไว้ก่อนไปเอกซเรย์?fbclid=IwAR3ooCb7QgKvjPpPqUVR0FpK3ho_DEXFtonB_07cR1-yTbgFtLtfaVLJ7vs
- Diagnostic Radiology – https://www.si.mahidol.ac.th/th/department/radiology/diagRadiology/knowxray.html?fbclid=IwAR2auU_zfc5zo04YfHEh8y0Pe3CtMrZ9rS7ESQZKJeIYUbxSJL4r9h_m1vE