logo_medical_เล็ก

สหคลินิกเมดิคอลไลน์ แล็บ (บริษัท เมดิคอลไลน์ แล็บ)

ป้องกันสารโลหะหนัก

ภัยร้ายจากสารโลหะหนักที่คุณไม่ควรมองข้าม

โลหะหนัก (Heavy Metal) เป็นโลหะที่มีความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำ 5 เท่าขึ้นไป โดยมีคุณสมบัติสลายตัวช้า เราจึงสามารถพบโลหะหนักปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้ ส่วนใหญ่แล้วมักพบตามแหล่งน้ำ ทำให้มนุษย์มีโอกาสได้รับโลหะหนักเข้าสู่ร่างกายผ่านทางสัตว์น้ำและพืชน้ำ ซึ่งอยู่ในแหล่งที่ปนเปื้อนโลหะหนักได้..

แม้จะดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่โลหะหนักก็ถือเป็นภัยอันตรายรูปแบบหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะว่าถ้าหากร่างกายของเราเกิดการสะสมโลหะหนักเป็นจำนวนมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการจะรับ อาจทำให้ร่างกายของเราเกิดการทำงานผิดปกติและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้

 

ภัยร้ายจากสารโลหะหนัก

 

ภาวะพิษจากโลหะหนัก (Heavy Metal Poisoning)

ร่างกายของเราสามารถซึมซับเอาโลหะหนักเข้าสู่ร่างกายได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร การสัมผัสกับโรงงานอุตสาหกรรม การรับมลภาวะจากทางอากาศและทางน้ำ ยา และการกลืนสีที่มีส่วนผสมของตะกั่ว ซึ่งเมื่อเนื้อเยื่อของเราเกิดการสะสมโลหะหนักในปริมาณมากๆ จะทำให้เกิดภาวะเป็นพิษจากโลหะหนักและส่งผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายของเราได้ ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว

 

อาการของภาวะพิษจากโลหะหนัก

อาการต่างๆ นั้นมักจะขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะหนักที่ทำให้เกิดอาการพิษ แต่โดยส่วนมากแล้วสามารถแบ่งอาการออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่อาการในระยะสั้นและอาการในระยะยาว

  • อาการในระยะสั้น หมายถึง การรับโลหะหนักเข้าไปเป็นปริมาณมากในครั้งเดียว เช่น การกลืนวัตถุหรือของเหลวต่างๆ ที่มีส่วนผสมของโลหะหนัก ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการมึนงง ตัวชา อาเจียน ไปจนถึงขั้นหมดสติและอาจเกิดอาการโคม่าตามมาได้
  • อาการในระยะยาว หมายถึง การรับโลหะหนักเข้าไปเป็นปริมาณเล็กน้อย แต่ได้รับเป็นระยะเวลายาวนาน เช่น การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม อาการเป็นพิษจากการรับโลหะหนักแบบนี้ จะทำให้รู้สึกเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ รวมไปถึงระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายทำงานไม่เป็นปกติ เช่น ระบบขับถ่ายทำงานผิดไปจากเดิม ทำให้มีอาการท้องผูก

 

ป้องกันสารโลหะหนัก

 

การรักษาภาวะพิษจากโลหะหนัก

            ในขั้นแรกคนไข้จะต้องทำการตรวจโลหะหนักเสียก่อน เมื่อพบการปนเปื้อนในร่างกายจึงค่อยทำการรักษาด้วยวิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ใช้สารคีเลต (Chelating agents) เช่น ซัคไซเมอร์ (Succimer) ซึ่งจะไปจับกับโลหะหนักและขับออกทางปัสสาวะ
  • ดูดของในกระเพาะอาหารออกเพื่อลดปริมาณโลหะหนักที่กลืนเข้าไป
  • รักษาโดยใช้ยาขับปัสสาวะที่เรียกว่า แมนนิทอล (Mannitol) หรือใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือการวัดความดันในกระโหลกเพื่อตรวจการบวมของสมอง
  • รักษาโดยการล้างไต หรือใช้การรักษาพิเศษอื่นๆ หากมีอาการไตวายร่วมด้วย

การป้องกันภาวะพิษจากโลหะหนัก

คงจะดีไม่น้อย หากเรารู้วิธีในการหลีกเลี่ยงการรับโลหะหนักเข้าสู่ร่างกายในชีวิตประจำวันของเรา เพราะหากเลือกได้ คงจะไม่มีใครอยากต้องทนทุกข์จากสารพิษเหล่านี้ และนี่คือวิธีการอย่างง่ายๆ ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้คุณต้องเผชิญกับอันตรายจากโลหะหนัก

  • หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของโลหะหนัก
  • สวมเครื่องป้องกันสำหรับป้องกันโลหะหนัก เมื่อมีความจำเป็นจะต้องทำงานในสถานที่ที่มีการปนเปื้อน
  • ระมัดระวังในการรับประทานอาหารจำพวกปลา
  • ตรวจสอบปริมาณโลหะหนักในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่อยู่ในครัวเรือน

 

ตรวจโลหะหนักกับผู้เชี่ยวชาญอย่าง ‘เมดิคอลไลน์ แล็บ’

ศูนย์การแพทย์ เมดิคอลไลน์ แล็บ ยินดีให้บริการในการตรวจหาสารโลหะหนัก ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติงานสัมผัสสารกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว สามารถตรวจวัดได้จาก เลือด และปัสสาวะ เพราะพิษจากโลหะหนักคือสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม การที่มีโลหะหนักในร่างกายจะส่งผลให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับพิษจากโลหะชนิดนั้นๆ ทั้งพิษแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง โดยจะส่งผลเสียต่อระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย และอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคบางอย่างได้ ขึ้นอยู่กับชนิด ปริมาณ และระยะเวลาที่ได้รับเข้าไป  ศูนย์การแพทย์ เมดิคอลไลน์ แล็บ ให้บริการตรวจวัดระดับโลหะในเลือดและปัสสาวะด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและมีมาตรฐานรับรอง พร้อมผลการวิเคราะห์ที่มี่ความน่าเชื่อถือสูง และการบริการที่เป็นเลิศ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.honestdocs.co/heavy-metal-poisoning

Scroll to Top