logo_medical_เล็ก

สหคลินิกเมดิคอลไลน์ แล็บ (บริษัท เมดิคอลไลน์ แล็บ)

หมอok

ข้อควรรู้ก่อนไปเอกซเรย์

การเอกซเรย์ (X-Ray) เป็นกระบวนการถ่ายภาพรังสีด้วยการใช้คลื่นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าหรือรังสี X เพื่อตรวจดูและบันทึกภาพของอวัยวะและโครงสร้างต่าง ๆ ภายในร่างกายในรูปแบบของภาพสีขาวและสีดำที่มีความเข้มแตกต่างกัน

เอกซเรย์เคลื่อนที่

 

จุดประสงค์ของการเอกซเรย์

ในทางการแพทย์ การเอกซเรย์จะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการวินิจฉัย การวางแผนรักษา และติดตามผลการรักษาผ่านการใช้เครื่องเอกซเรย์หลายประเภท โดยทั่วไปแล้วจะใช้เพื่อตรวจดูความผิดปกติ ระบุตำแหน่ง อาการหัก หรือภาวะติดเชื้อของกระดูกส่วนต่างๆ รวมถึงอวัยวะภายในช่องท้องและทรวงอก นอกจากนี้ยังใช้เพื่อตรวจหามะเร็ง เนื้องอกชนิดที่ไม่เป็นอันตราย ตรวจดูระบบขับถ่าย ระบบทางเดินอาหาร ร่องรอยของโรคปอดบวม วัณโรค น้ำท่วมปอด ภาวะหัวใจโต ภาวะเส้นเลือดตีบหรืออุดตัน ภาวะกระดูกพรุน แม้กระทั่งฟันผุ ฟันคุด และยังสามารถนำมาใช้เพื่อวินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการกลืนวัตถุแปลกปลอม

การเตรียมตัวก่อนการเอกซเรย์

ผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวด้านใดเป็นพิเศษ สามารถรับประทานอาหารและดื่มน้ำได้ตามปกติ ยกเว้นในรายที่ต้องมีการเอกซเรย์แบบพิเศษ เช่น การเอกซเรย์ระบบทางเดินอาหารที่ต้องมีการงดอาหาร หรืออาจต้องรับประทานทานยาระบายก่อน รวมถึงในรายที่เข้ารับการเอกซเรย์ที่ต้องกลืนสารไอโอดีนหรือแบเรียมที่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ยา การดื่มเครื่องดื่ม นอกจากนี้ การแต่งกายควรสวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย หลีกเลี่ยงการสวมใส่เครื่องประดับหรือเสื้อผ้าที่มีส่วนประกอบของโลหะ และหากผู้เข้ารับบริการเคยผ่านการผ่าตัดที่ต้องฝังอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนของโลหะไว้ในร่างกาย ควรแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ ผู้เข้ารับบริการสามารถสอบถามวิธีการปฏิบัติตนได้จากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์

 

บริการตรวจสุขภาพ

วิธีการเอกซเรย์

การเข้ารับการเอกซเรย์มีขั้นตอนไม่ซับซ้อนและไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ ยกเว้นอาการไม่สบายตัวในบางราย โดยเมื่อเข้าไปในห้องเอกซเรย์แล้ว นักรังสีวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญจะจัดท่าทางให้ผู้เข้ารับการตรวจเพื่อให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม อาจอยู่ในท่านั่ง ยืน หรือนอนหงาย ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องอยู่ให้นิ่งที่สุดเพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บางครั้ง อาจต้องทำหลายครั้งจนกว่าจะได้ภาพที่สมบูรณ์ที่สุด

สำหรับระยะเวลาในการเอกซเรย์จะใช้เวลาน้อยมากในแต่ละครั้ง ประมาณ  1-2 นาที  หรือหากมีกระบวนการเพิ่มเติมต้องฉีดหรือกินสารเคมีก่อน อาจใช้เวลามากถึง 1 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น

ตั้งครรภ์อยู่ เอกซเรย์ได้ไหม?

การเอกซเรย์ในขณะตั้งครรภ์สามารถส่งผลกับทารกในครรภ์ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสีและอายุครรภ์ ซึ่งผลกระทบที่อาจเกิดกับทารกในครรภ์ ได้แก่ การแท้งบุตร ภาวะเติบโตช้า อวัยวะต่าง ๆ พิการแต่กำเนิด ศีรษะเล็กกว่าปกติ ปัญญาอ่อน ฯลฯ

ดังนั้น จึงควรแจ้งเจ้าหน้าที่หรือแพทย์หากกำลังตั้งครรภ์หรือสงสัยว่ามีการตั้งครรภ์ก่อนการเอกซเรย์

 

หมอok

 

การดูแลตนเองหลังการเอกซเรย์

ไม่จำเป็นต้องพักฟื้นหรือรับประทานยาแต่อย่างใด เนื่องจากอันตรายจากการแพร่กระจายของรังสีที่ใช้ในการเอกซเรย์ถือว่าต่ำมากหรือแทบไม่มีเลย แต่อาจพบผลข้างเคียงที่เกิดจากการเอกซเรย์อยู่บ้างในบางรายขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสี ความถี่ในการเอกซเรย์ และบริเวณอวัยวะที่โดนรังสี เช่น ผิวแห้ง ผิวหนังบริเวณที่ถูกรังสีแดงหรือไหม้ คลื่นไส้ อาเจียน ฯลฯ

เอกซเรย์จำเป็นต้องทำที่โรงพยาบาลเท่านั้นหรือไม่?

เทคโนโลยีในปัจจุบันได้พัฒนาก้าวไกลขึ้นมากทำให้ผู้เข้ารับบริการมีทางเลือกในการรับการเอกซเรย์มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลเท่านั้น แต่สามารถขอรับการเอกซเรย์ได้ ณ คลินิก ศูนย์บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์หรือห้องแล็บ รวมถึงหน่วยเอกซเรย์เคลื่อนที่นอกสถานที่

 

 

บริการหน่วยเอกซเรย์เคลื่อนที่โดยผู้เชี่ยวชาญอย่าง ‘เมดิคอลไลน์ แล็บ’

ศูนย์การแพทย์ เมดิคอลไลน์ แล็บ ยินดีให้บริการออกหน่วยเอกซเรย์เคลื่อนที่เพื่อตรวจสุขภาพ คัดกรองความเจ็บป่วยเฉพาะทางเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับบริษัท องค์กร หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ให้ความละเอียดสูง มีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานรับรอง ปลอดภัยต่อผู้รับเข้าบริการ รายงานผลรวดเร็ว พร้อมผลการวิเคราะห์ที่มี่ความน่าเชื่อถือสูง และการบริการที่เป็นเลิศ

Scroll to Top
Scroll to Top